twitter

Blog Archive

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ในวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ของปีนี้ เป็น “วันทหารผ่านศึก” ซึ่งในวันนี้ตามหน่วยงานราชการทางด้านทหาร จะมีการกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการรำลึกถึงทหารหาญเหล่านั้น ทั่วประเทศของทุกๆ ปี ฉะนั้นเรามารู้จักกันสักนิดเกี่ยวกับ “วันทหารผ่านศึก”

 _1_~3

Victory_Monument

 

ประวัติความเป็นมา

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลัง “สงครามมหาเอเชียบูรพา” สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดปล่อยจากการเป็นทหาร จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2490 กระทรวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากการ ปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ

ต่อ มากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก โดยมี พลโทชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช เป็นผู้อำนวยการคนแรก

ในปี พ.ศ.2510 องค์การ ทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหม และเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ได้แก่ การให้การสงเคราะห์แก่ทหารที่ผ่านการปฎิบัติการรบ และครอบครัวของทหารที่ปฏิบัติการรบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

1.) การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ เป็นการให้การสงเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ที่อยู่อาศัย การศึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอวัยวะเทียม

2.) การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ โดยการฝึกอบรม และการฝึกอาชีพ ให้ความช่วยเหลือในทางด้านการทำงาน จัดหางานให้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

3.) การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม จัดสรรที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้ และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือ และวิชาการ

4.) การสงเคราะห์ด้านกองทุน โดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ

5.) การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิก โดยไม่คิดมูลค่า

6.) ให้มีการส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก โดยการขอสิทธิพิเศษในด้านต่างๆ ให้แก่ทหารผ่านศึก เช่น การขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น

T0006_0001_02 (Custom)

          วันทหารผ่านศึก ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของ ทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่รัฐบาลได้จัดตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ "ทหารผ่านศึก" และครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยมีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา

ด้วย ตระหนักถึงคุณความดีของทหารหาญ ที่เป็นกองกำลังในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับอริราชศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ทหารทุกนายต่างสละได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ร่างกาย และลมหายใจ ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของทหารหาญเหล่านั้น รัฐบาลจึงหาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือมาตลอด

โดยในสมัย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2488 โดยเรียกชื่อว่า "คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน"

ครั้น ต่อมา จำนวนของทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึกมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานโดยคณะกรรมการจึงไม่รัดกุม และเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เรียกชื่อย่อว่า "อผศ" เพื่อเป็นหน่วยงานถาวรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันทหารผ่านศึก”

b2620martin20marauders2wg1

ต่อมาสภาทหารผ่านศึก สภากลาโหม และรัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อขยายการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และ พลเรือน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายใน และภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิช่วยทหาร และครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ

องค์การ ได้ให้การสงเคราะห์ประเภทต่างๆ แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และนอกประจำการ กล่าวคือ ให้การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล การสงเคราะห์ด้านส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

01025_19 (Custom)

 

          "ดอกป๊อปปี้" ในทางสากลแล้วถือว่า เป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึง ทหารผ่านศึกผู้พลีเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก และในประเทศไทยยังกำหนดให้เป็น สัญลักษณ์ ของวันทหารผ่านศึกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี อีกด้วย ซึ่งในวันนี้ “ดอกป๊อปปี้สีแดง”จะบานสะพรั่งไปทั่วแผ่นดิน

สำหรับประเทศไทยแล้ว การจัดทำ “ดอกป๊อปปี้” เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหาร และครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จึงได้เลือกเอา “ดอกป๊อปปี้สีแดง”

pp

 

ซึ่งมีประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสงครามในครั้งนั้น ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบ ที่นั่นได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวง และน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร

โดยมี ”ดอกป๊อปปี้ ป่าขึ้นอยู่เดียรดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมา “ดอกป๊อปปี้” จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศชาติ

สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ มาแล้วโดยมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติปรากฎเป็นอนุสรณ์อยู่ วีรกรรมของนักรบไทย ในการรบได้ขจรขจายไปทั่วปรากฎต่อสายตาชาวโลก “ฉะนั้นเพื่อระลึกถึงเกียรติภูมิของนักรบกล้าหาญ จึงได้กำหนดให้ “ดอกป๊อปปี้” เป็นดอกไม้ที่ระลึกสำหรับทหารผ่านศึกไทย เช่นเดียวกันในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายในวันที่ระลึก ทหารผ่านศึกตั้งแต่ ปี 2511 เป็นต้นมา”

 

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เพลง FOREVER LOVE - X JAPAN ความยาว 8:33 เป็นเพลงวันทหารผ่านศึก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นหนึ่งในครอบครัวทหารผ่านศึก คุณตาเป็นนายทหารเรือเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม ภูมิใจในตัวคุณตา และเหล่านายทหารทุกๆท่านมากค่ะ

แสดงความคิดเห็น


flag counter

free counters