Blog Archive
-
►
2012
(1)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
-
►
2011
(1)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
-
▼
2010
(89)
-
▼
กุมภาพันธ์
(17)
- *หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD
- *คลิปโรคจิตบนรถเมล
- *ภาพ ไอ้โรคจิต ส่องใต้กระโปรงสาว
- *วิธี Activate SIM 3G 365
- *ผลสลากออมสินพิเศษ งวดวันที่ 16 ก.พ. 53
- *ผลสลากออมทรัพย์ ธกส. งวด 16 ก.พ. 53
- *ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 ก.พ. 53
- *รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ เปิดบริกา...
- *พระพุทธรูปใหญ่ที่สุดในโลก
- *การใช้ SIM TOT 3G กับ Sierra Aircard
- *QR Code = Generation ต่อไปของบาร์โค้ด
- *ส่งไฟล์หลายกิกฯ ในคลิกเดียว (แบบชิลล์ๆ)
- *โรมมิ่งAIS/TOT คาด ลงเอยกันด้วยดี
- *อเมริกันฟุตบอล ดูให้มันส์ มันต้องรู้กติกา
- *วันทหารผ่านศึก ทำไมต้อง 3 ก.พ. ทำไมต้องดอก “ป๊อปปี้”
- *มารู้จักทฤษฎี ควอนตัม กันซักหน่อย
- *ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 ก.พ. 53
-
▼
กุมภาพันธ์
(17)
E.O.D
Explosive : วัตถุระเบิด
Ordnance:สรรพาวุธ, อาวุธยุทโธปกรณ์
Disposal: การกำจัด
หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive Ordnance Disposal)
ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน วัตถุระเบิดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ อันก่อให้เกิด หรือเพิ่มระดับความขัดแย้งในทุกเหตุการณ์บนโลก เมื่อถามถึงอันตรายที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น หลายคนคงตอบว่า ก็คือ แรงระเบิด ไง แต่เป็นคำตอบที่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะผลลัพธ์ที่แท้จริงที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น คือ แรงดันหรือแรงระเบิด, สะเก็ดระเบิด ที่เกิดจากวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มวัตถุระเบิดนั้นๆ และท้ายที่สุด คือ ความร้อน สิ่งที่เป็นตัวอันตราย และเป็นตัวกำหนดระยะปลอดภัย คือ สะเก็ดระเบิด เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด
วัตถุระเบิด ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ กลไกการจุดระเบิด, เชื้อปะทุ และดินระเบิด โดยเริ่มการทำงานจาก กลไกการจุดระเบิด ที่เราอาจจะไปสัมผัสถูก, กดถูก, สะดุดถูก, ยกของที่กดทับออก หรือ คนร้ายกดรีโมทสั่งการจากระยะที่ปลอดภัย จึงเป็นที่มาของสิ่งแรกที่ผู้พบเห็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง หรือ IED (Improvised Explosive Device) ที่จะต้องปฏิบัติ คือ การห้ามไปสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด และห้ามเคลื่อนย้าย ลำดับต่อมา คือ การกั้นพื้นที่ และลำเลียงผู้คนออกจากพื้นที่ในรัศมี 100, 200 และ 400 เมตร โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์น้ำหนักของวัตถุระเบิดที่ 5, 5-10 และมากกว่า 10 กิโลกรัม ตามลำดับ ในขั้นตอนที่ 3 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ EOD ของตำรวจที่มีประจำในทุกจังหวัดจะมีอำนาจเต็มทางกฎหมาย และความรับผิดชอบในยามปกติ ในขณะที่ EOD ของหน่วยงานทหารจะมีอำนาจเต็มในพื้นที่ของหน่วยทหาร และในยามสงคราม หรือไปเป็นตามการร้องขอจาก EOD ตำรวจ ที่จะต้องอาศัยความชำนาญในเฉพาะด้านของ EOD แต่ละเหล่าทัพ นอกจากนั้นยังสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทหารช่างในส่วนของผู้ที่จบหลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด ซึ่งบรรจุให้ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองพันทหารช่างของกองพลทหารราบ/ม้า แต่ขีดความสามารถจะจำกัดในการค้นหา และความชำนาญเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อกับระเบิด และทุ่นระเบิดเท่านั้น เนื่องจากขอบเขตการศึกษาของหลักสูตรเพียง 4 อาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เหมาะกับสงครามทุ่นระเบิด
ในส่วนของ EOD เหล่าทัพจะแยกความรับผิดชอบตามชนิดของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหล่าทัพนั้นๆ มีประจำการ หรือเกี่ยวข้องและมีความชำนาญอยู่ ในขั้นตอนที่ 4 คือ การติดต่อกับหน่วยงานประเภทให้การสนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือ อาทิเช่น รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถให้แสงสว่าง, สุนัขตำรวจ หรือสุนัขทหาร (ดมวัตถุระเบิด) ฯลฯ และการกันผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยเป็นคนแรก เป็นพยานไว้ เพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องลักษณะของวัตถุต้องสงสัย, เวลาที่พบเจอ ฯลฯ
วิวัฒนาการของหน่วย EOD ในต่างประเทศนั้น ริเริ่มโดยอังกฤษในยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่ต้องเก็บกู้ลูกระเบิดอากาศที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินโจมตีของฝ่ายเยอรมัน แต่เนื่องจากชนวนของลูกระเบิดอากาศไม่มีความซับซ้อนเท่าไร อุปกรณ์การเก็บกู้จึงใช้เพียงชุดตะขอและเงื่อนเชือก (Hook and Line) และไม่ค่อยเกิดความสูญเสียใด แต่ในระยะต่อมามีการพัฒนาของชนวนที่สามารถถ่วงเวลา, ตั้งเวลา และความสูงได้ จึงก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์จึงมีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในส่วนของสหรัฐอเมริกา การเรียนการสอนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ EOD เริ่มในปี พ.ศ.2488 โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ แล้วประเทศไทยได้ส่งนายทหาร และนายสิบไปเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 เป็นต้นมา ซึ่งเมื่อกลับมาได้จัดตั้งแผนกกระสุน และวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ในปี พ.ศ.2509 เป็นหน่วยให้การศึกษาในวิชากระสุน และวัตถุระเบิด และรับผิดชอบการฝึกนักทำลายล้างวัตถุระเบิดให้กับกองทัพบก ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตนักทำลายฯ ระดับนายทหารชั้นสัญญาบัตร 193 นาย และชั้นประทวน 342 นาย รวม 535 นาย ไปปฏิบัติหน้าที่ในแผนกฯ, ชุด ทลร.ที่มีอยู่ 15 นายต่อชุดประจำใน กองพันกระสุน กองบัญชาการช่วยรบ ทั้ง 4 กองทัพภาค, แผนก 1-6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก, ฉก.อโณทัย และหน่วยอื่นๆ โดยตำแหน่งที่กล่าวมาจะได้รับเงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับนายทหารสัญญาบัตร 10,000 บาท และ ประทวน 7,500 บาท ซึ่งจะงดรับเมื่อไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยที่กล่าวมาข้างต้น ไม่เหมือนเงินเพิ่มของนักบิน ทบ. ที่จะมีติดตัวไปตลอด แต่ได้มีการริเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขอสิทธิดังกล่าว ในกรณีที่ จนท.ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วเป็นอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งคงได้แต่รอคอยความกรุณาจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ และการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล. สามารถติดตามชมได้จากหนัง DVD เรื่อง Hurt Locker ที่กล่าวถึงการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ของกองทัพสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก ซึ่งมีบางสิ่งที่แตกต่างไปจากหลักการปฏิบัติงานของ ทบ.ไทย คือ จนท.ทรล.ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมักจะใช้ชุดละ 6 นาย แต่ในหนังใช้เพียง 3 นาย โดยแต่ละนายจะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น หัวหน้าชุด, พลขับ, จนท.ทำลาย, ผช.จนท.ทำลาย, จนท.อิเลคทรอนิกส์ และ จนท.สื่อสาร/ซักถามพยาน
สิ่งที่เป็นปัญหาของ หน่วย ทรล. ในปัจจุบัน คือ ชุด ทรล.ถูกใช้งานเกินขีดจำกัด เนื่องจากในหลักการแล้ว หน่วย ทรล. มีหน้าที่ในการเข้าไปทำการนิรภัยกระสุน และวัตถุระเบิดให้ปลอดภัยเท่านั้น ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ควรหมดไปกับการคิด และวางแผน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างลุล่วง ปลอดภัยทั้งสถานที่เกิดเหตุ, ผู้ประสบเหตุทุกคน และ จนท.ในหน่วย ในขณะที่การตรวจค้นวัตถุระเบิด, การเก็บพยานวัตถุ และกิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นวัตถุระเบิด หรือ EORA : Explosive Ordnance Reconnaissance Agent ซึ่งเป็น จนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.ดับเพลิง หรือ จนท.ในหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางพลเรือนอื่นๆ ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในการตรวจค้นสรรพาวุธระเบิด ซึ่งการอบรมอาจจะใช้ห้วงเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์ ในขณะที่หลักสูตร ทลร.ใช้เวลา 16 อาทิตย์
จนท.ตรวจค้นวัตถุระเบิดจะช่วยบริหารการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการไปหาที่ตั้งของวัตถุระเบิด, ไม่ต้องไปสอบถามพยาน เพราะคำตอบได้ถูกเตรียมไว้แล้ว, มีการแจ้งเตือนให้เตรียมอุปกรณ์ไปใช้งานที่ถูกชนิดถูกประเภท, มีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดปลอมหรือไม่ในระดับหนึ่ง, ลดงานในเรื่องของการเก็บวัตถุพยาน และที่สำคัญที่สุด คือ ชุด ทรล. จะมีเวลาในการฝึกมากขึ้น เพราะหน่วย ทรล. จำเป็นต้องมีการฝึกด้วยโจทย์ใหม่ๆ โดยตลอด
โจทย์เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่หน่วย ทรล.ของทุกเหล่าทัพ และหน่วย ทรล.มิตรประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยตลอด ในปัจจุบันรับผิดชอบโดย EOD Data Center ของ สพ.ทบ. เพื่อให้มีการวางรูปแบบกับเหตุการณ์ที่อาจจะต้องเผชิญ และเพิ่มข้อมูลทางเทคนิคความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะทันสมัย ซึ่งงานประเภทนี้มีการท้าทายจากผู้ก่อความไม่สงบตลอดเวลา
บทความนี้แสดงให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล. ของ สพ.ทบ., วิวัฒนาการของหน่วย, อันตรายจากวัตถุระเบิด ตลอดจนแนวทางที่สามารถอำนวยการให้หน่วย ทรล.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งความสำเร็จ หรือ ความดีความชอบมิได้ปรากฏ หรือแสดงได้ด้วยเงินทอง และชื่อเสียง แต่สิ่งที่ต้องการที่สุด คือ ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน เพื่อลดโอกาสการนำมาซึ่งการต่อรอง และเจรจา ในสิ่งที่ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ประโยชน์ และลดปัญหาการนำวัตถุระเบิดมาเป็นสิ่งต่อรอง
7 ความคิดเห็น:
Poka
ถ้าตามภาพนี้ arm แล้วครู PUKA เลย
เสสสส
หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิดของ รร.ช.กช.
ใช้ระยะในการศึกษา 8 สัปดาห์
จาก G 1
รับผู้หญิงเข้าทำงานรึเปล่า
จำกัดอายุหรือการศึกษารึเปล่า
ช่วยตอบด้วยครับ
I'd like to thank you for the efforts you have put in penning this blog. I'm hoping to view the same high-grade content by you
in the future as well. In truth, your creative writing abilities has motivated me to get my very own blog now
;)
Feel free to surf to my homepage: airplane simulator game
my web page: Airplane simulation Games
คิดถึงแฟนที่อยู่หน่วยนี้
แสดงความคิดเห็น