twitter

Blog Archive

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

 

 

E.O.D
Explosive : วัตถุระเบิด
Ordnance:สรรพาวุธ, อาวุธยุทโธปกรณ์
Disposal: การกำจัด

 

หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive Ordnance Disposal)
ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน  วัตถุระเบิดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ  อันก่อให้เกิด หรือเพิ่มระดับความขัดแย้งในทุกเหตุการณ์บนโลก  เมื่อถามถึงอันตรายที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น  หลายคนคงตอบว่า  ก็คือ แรงระเบิด ไง  แต่เป็นคำตอบที่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น  เพราะผลลัพธ์ที่แท้จริงที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น คือ แรงดันหรือแรงระเบิด, สะเก็ดระเบิด ที่เกิดจากวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มวัตถุระเบิดนั้นๆ และท้ายที่สุด คือ ความร้อน  สิ่งที่เป็นตัวอันตราย และเป็นตัวกำหนดระยะปลอดภัย คือ สะเก็ดระเบิด  เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด
วัตถุระเบิด ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ กลไกการจุดระเบิด, เชื้อปะทุ และดินระเบิด  โดยเริ่มการทำงานจาก กลไกการจุดระเบิด ที่เราอาจจะไปสัมผัสถูก, กดถูก, สะดุดถูก, ยกของที่กดทับออก หรือ คนร้ายกดรีโมทสั่งการจากระยะที่ปลอดภัย  จึงเป็นที่มาของสิ่งแรกที่ผู้พบเห็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง หรือ IED (Improvised Explosive Device) ที่จะต้องปฏิบัติ คือ การห้ามไปสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด และห้ามเคลื่อนย้าย  ลำดับต่อมา คือ การกั้นพื้นที่ และลำเลียงผู้คนออกจากพื้นที่ในรัศมี 100, 200 และ 400 เมตร  โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์น้ำหนักของวัตถุระเบิดที่ 5, 5-10 และมากกว่า 10 กิโลกรัม ตามลำดับ  ในขั้นตอนที่ 3 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ซึ่งเจ้าหน้าที่ EOD ของตำรวจที่มีประจำในทุกจังหวัดจะมีอำนาจเต็มทางกฎหมาย และความรับผิดชอบในยามปกติ  ในขณะที่ EOD ของหน่วยงานทหารจะมีอำนาจเต็มในพื้นที่ของหน่วยทหาร และในยามสงคราม หรือไปเป็นตามการร้องขอจาก EOD ตำรวจ  ที่จะต้องอาศัยความชำนาญในเฉพาะด้านของ EOD แต่ละเหล่าทัพ  นอกจากนั้นยังสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทหารช่างในส่วนของผู้ที่จบหลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด ซึ่งบรรจุให้ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองพันทหารช่างของกองพลทหารราบ/ม้า  แต่ขีดความสามารถจะจำกัดในการค้นหา และความชำนาญเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อกับระเบิด และทุ่นระเบิดเท่านั้น  เนื่องจากขอบเขตการศึกษาของหลักสูตรเพียง 4 อาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เหมาะกับสงครามทุ่นระเบิด


ในส่วนของ EOD เหล่าทัพจะแยกความรับผิดชอบตามชนิดของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหล่าทัพนั้นๆ มีประจำการ หรือเกี่ยวข้องและมีความชำนาญอยู่  ในขั้นตอนที่ 4 คือ การติดต่อกับหน่วยงานประเภทให้การสนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือ อาทิเช่น รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถให้แสงสว่าง, สุนัขตำรวจ หรือสุนัขทหาร (ดมวัตถุระเบิด) ฯลฯ และการกันผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยเป็นคนแรก เป็นพยานไว้  เพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องลักษณะของวัตถุต้องสงสัย, เวลาที่พบเจอ ฯลฯ
วิวัฒนาการของหน่วย EOD ในต่างประเทศนั้น  ริเริ่มโดยอังกฤษในยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่ต้องเก็บกู้ลูกระเบิดอากาศที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินโจมตีของฝ่ายเยอรมัน  แต่เนื่องจากชนวนของลูกระเบิดอากาศไม่มีความซับซ้อนเท่าไร  อุปกรณ์การเก็บกู้จึงใช้เพียงชุดตะขอและเงื่อนเชือก (Hook and Line) และไม่ค่อยเกิดความสูญเสียใด  แต่ในระยะต่อมามีการพัฒนาของชนวนที่สามารถถ่วงเวลา, ตั้งเวลา และความสูงได้  จึงก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์จึงมีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ในส่วนของสหรัฐอเมริกา  การเรียนการสอนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ EOD เริ่มในปี พ.ศ.2488 โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ แล้วประเทศไทยได้ส่งนายทหาร และนายสิบไปเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 เป็นต้นมา  ซึ่งเมื่อกลับมาได้จัดตั้งแผนกกระสุน และวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ในปี พ.ศ.2509 เป็นหน่วยให้การศึกษาในวิชากระสุน และวัตถุระเบิด และรับผิดชอบการฝึกนักทำลายล้างวัตถุระเบิดให้กับกองทัพบก  ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตนักทำลายฯ ระดับนายทหารชั้นสัญญาบัตร 193 นาย และชั้นประทวน 342 นาย รวม 535 นาย  ไปปฏิบัติหน้าที่ในแผนกฯ, ชุด ทลร.ที่มีอยู่ 15 นายต่อชุดประจำใน กองพันกระสุน กองบัญชาการช่วยรบ ทั้ง 4 กองทัพภาค, แผนก 1-6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก, ฉก.อโณทัย และหน่วยอื่นๆ  โดยตำแหน่งที่กล่าวมาจะได้รับเงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับนายทหารสัญญาบัตร 10,000 บาท และ ประทวน 7,500 บาท  ซึ่งจะงดรับเมื่อไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยที่กล่าวมาข้างต้น  ไม่เหมือนเงินเพิ่มของนักบิน ทบ. ที่จะมีติดตัวไปตลอด  แต่ได้มีการริเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขอสิทธิดังกล่าว  ในกรณีที่ จนท.ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วเป็นอย่างน้อย 3 ปี  ซึ่งคงได้แต่รอคอยความกรุณาจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป


สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ และการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.  สามารถติดตามชมได้จากหนัง DVD เรื่อง Hurt Locker ที่กล่าวถึงการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ของกองทัพสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก  ซึ่งมีบางสิ่งที่แตกต่างไปจากหลักการปฏิบัติงานของ ทบ.ไทย คือ จนท.ทรล.ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมักจะใช้ชุดละ 6 นาย  แต่ในหนังใช้เพียง 3 นาย  โดยแต่ละนายจะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น หัวหน้าชุด, พลขับ, จนท.ทำลาย, ผช.จนท.ทำลาย, จนท.อิเลคทรอนิกส์ และ จนท.สื่อสาร/ซักถามพยาน


สิ่งที่เป็นปัญหาของ หน่วย ทรล. ในปัจจุบัน คือ ชุด ทรล.ถูกใช้งานเกินขีดจำกัด  เนื่องจากในหลักการแล้ว  หน่วย ทรล. มีหน้าที่ในการเข้าไปทำการนิรภัยกระสุน และวัตถุระเบิดให้ปลอดภัยเท่านั้น  ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ควรหมดไปกับการคิด และวางแผน  เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างลุล่วง  ปลอดภัยทั้งสถานที่เกิดเหตุ, ผู้ประสบเหตุทุกคน และ จนท.ในหน่วย  ในขณะที่การตรวจค้นวัตถุระเบิด, การเก็บพยานวัตถุ และกิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นวัตถุระเบิด หรือ EORA : Explosive Ordnance Reconnaissance Agent  ซึ่งเป็น จนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.ดับเพลิง หรือ จนท.ในหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางพลเรือนอื่นๆ  ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในการตรวจค้นสรรพาวุธระเบิด  ซึ่งการอบรมอาจจะใช้ห้วงเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์  ในขณะที่หลักสูตร ทลร.ใช้เวลา 16 อาทิตย์ 
จนท.ตรวจค้นวัตถุระเบิดจะช่วยบริหารการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการไปหาที่ตั้งของวัตถุระเบิด, ไม่ต้องไปสอบถามพยาน เพราะคำตอบได้ถูกเตรียมไว้แล้ว, มีการแจ้งเตือนให้เตรียมอุปกรณ์ไปใช้งานที่ถูกชนิดถูกประเภท, มีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดปลอมหรือไม่ในระดับหนึ่ง, ลดงานในเรื่องของการเก็บวัตถุพยาน และที่สำคัญที่สุด คือ ชุด ทรล. จะมีเวลาในการฝึกมากขึ้น  เพราะหน่วย ทรล. จำเป็นต้องมีการฝึกด้วยโจทย์ใหม่ๆ โดยตลอด 
โจทย์เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่หน่วย ทรล.ของทุกเหล่าทัพ และหน่วย ทรล.มิตรประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยตลอด  ในปัจจุบันรับผิดชอบโดย EOD Data Center ของ สพ.ทบ.  เพื่อให้มีการวางรูปแบบกับเหตุการณ์ที่อาจจะต้องเผชิญ และเพิ่มข้อมูลทางเทคนิคความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะทันสมัย ซึ่งงานประเภทนี้มีการท้าทายจากผู้ก่อความไม่สงบตลอดเวลา
บทความนี้แสดงให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล. ของ สพ.ทบ., วิวัฒนาการของหน่วย, อันตรายจากวัตถุระเบิด ตลอดจนแนวทางที่สามารถอำนวยการให้หน่วย ทรล.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  ซึ่งความสำเร็จ หรือ ความดีความชอบมิได้ปรากฏ หรือแสดงได้ด้วยเงินทอง และชื่อเสียง  แต่สิ่งที่ต้องการที่สุด คือ ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน  เพื่อลดโอกาสการนำมาซึ่งการต่อรอง และเจรจา  ในสิ่งที่ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ประโยชน์ และลดปัญหาการนำวัตถุระเบิดมาเป็นสิ่งต่อรอง

 

 

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อีกแล้วครับ นี่เป็นคลิปและข้อความที่น้องคนนึงโพสไว้ที่

http://www.oknation.net/blog/ribbinj/2010/02/21/entry-1

น้องเขาประสพด้วยตัวเอง แต่ยังมีสติ ใช้โทรศัพท์ของตัวเองถ่ายคลิบนี้ไว้

--เตือนน้องๆผู้หญิงให้ระวัง

--เตือนน้องผู้ชายว่า อย่าทำ อย่านึกว่านายจะรอดไปได้ วันนึงนายจะโดนเช่นนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

เป็นเรื่องที่เกิดกับฉันเอง เมื่อวันอาทิตย์ที่21กุมภาพันธ์ 2553 ฉันนั่งรถเมล์สาย113จากถนนรามคำแหงจะไปลงหัวลำโพง ช่วงตั้งแต่พันธุ์ทิพย์ประตูน้ำ เกิดเหตุ โรคจิตที่นั่งเบาะหน้าฉัน มันมากัน2คนค่ะ มันพยายามเอามือถือจะถ่ายใต้กระโปรงฉัน ดีที่ฉันเห็นก่อน เลยเอามือถือถ่ายคลิปได้ตอนที่มันกำลังถ่ายฉันอยู่ พอมันรู้ตัวว่าฉันถ่าย มันแลพเพื่อนรีบลงทันทีที่รถไฟฟ้าราชเทวี ในคลิปมีตอนที่มันถ่าย และหน้าของมันนะคะ

ช่วยกันประจานมันค่ะ

 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เป็นเนื้อความที่น้องผู้หญิงคนนึง โพสไว้ที่เวบเวบนึง เล่าถึงเหตุการที่ตนโดนแอบถ่ายใต้กระโปรง หลังจากนั้นเมื่อน้องคนนี้ได้ภาพจากกล้องจงจรปิดของทางร้านจึงส่งเมลล์ให้เพื่อนๆ ช่วยส่งต่อ เตือนเพื่อนผู้หญิงด้วยกันให้ระวัง

ผมเชื่อว่าน้องผู้หญิงส่วนใหญ่ก็ระวังตัวกันอยู่แล้ว แต่ผมอยากจะเตือนน้องผู้ชายที่คิดจะทำ หรือกำลังจะทำ ว่า อย่าเลย มันไม่แมนเลยซักนิด นายคิดว่านายจะรอดไปได้นานซักเท่าไหร่กัน สักวันนายก็จะโดนประจานแบบนี้-

ข้างล่างนี้เป็นข้อความที่โพส และเมล์ของน้องผู้หญิงคนนั้นครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

พอดีโดนแอบส่องใต้กระโปรงค่ะ จิตตก อยากสาวให้ถึงตัว ทำยังไงดีค่ะ

 

อยากจะเอาเรื่องกับคนที่มาส่องใต้กระโปรงอ่ะค่ะ พอดีวันนี้โดนเข้าเต็มๆเลย เวลาทุ่มกว่าๆ วันศุกร์ที่ 19 อ่ะคะ
พูดถึงกระโปรงก่อน เพราะต้องมองที่ตัวเรา สั้นมั้ย ก็ไม่สั้นน่ะค่ะ ไม่ผ่าหลังด้วยค่ะ ทรงปกติของชุดนักศึกษาค่ะ
อยู่เหนือเข่านิดหน่อยพองาม ปกติไปไหนเวลาใส่สั้นๆ หรือกางเกงสั้นก็จะเป็นคนระวังตัวเองตลอด
จะใส่กางเกงซ้อนข้างในอีกที มาวันนี้ไม่ได้ใส่เนื่องจากน้ำหนักขึน ตัวบวมๆประจำเดือนมา มันร้อนอ่ะค่ะ
หงุดหงิดก็เลยไม่ใส่ ทีนี้ไปซื้อของที่ร้านหกสิบบาท สาขาสยามแสควร์(ไม่ได้มีปัญหากับทางร้านแต่อย่างใดขอโทษนะค่ะที่พูดถึง)
หนูได้เดินไปเพื่อจะซื้อบอลม้วนผมที่ชั้นสอง ก็ไปจับๆ ดูๆของตรงล็อคนั้น ซักพักเหมือนรู้สึกว่ามีใครอยู่ข้างหลัง
พอดีหนูขยับตัว แล้วรู้สึกว่ามีอะไรมาโดนที่ขา ก็คิดว่าไปชนของๆใครเข้ารึปล่าว
ก็เลยรีบหันหลังไป ปรากฏว่าเห็นผู้ชายคนหนึ่งขยับแขนจากใต้ขา แล้วเค้าก็วิ่งไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งประมาณว่าตกใจ
เห็นหน้าตาชัดเจนมากค่ะว่ามีลักษณะอย่างไร และเค้าก็ตกใจมาก
ทีนี้เราก็นึกขึ้นได้ว่าไอ้นี่มันต้องกำลังจะทำอะไรซักอย่างแน่เลย ทีแรกจะตะโกน แต่ก็กลัวเค้าเข้ามาทำร้าย
ก็เลยเดินไปหาเพื่อนที่เดินดูของอีกฝั่งหนึ่ง เดินไปบอกว่านี่ๆมีคนเหมือนมาแอบมองใต้กระโปรงฉันอ่ะ
เค้าก็ยังไม่ไปนะค่ะ เหมือนยืนมองอะไรให้แน่ใจ จะอธิบายยังไงดี
เพราะเหตุการณ์ที่เล่าเหมือนจะเกิดขึ้นหลายนาที กว่าจะไปบอกเพื่อน ไปบอกให้เดินมาดู
แต่ไม่ใช่ค่ะ   พอรู้สึกก็เลยหันแล้วเค้าก็วิ่ง  จากนั้นหนูก็รีบเดินไปหาเพื่อนอยู่ห่างประมาณเมตรนึง สายตาเราก็ยังมอง
คนนั้นอยู่ จากนั้นเพื่อนก็เดินไปมอง เค้าก็กลัวรีบวิ่งไปเลย ถ้าเค้าไม่ได้ทำเค้าคงไม่หนีออกไปหรอกใช่มั้ยค่ะ
พอคุยกันว่าแน่ใจแล้วว่าเค้าส่องกระโปรงแน่ๆ ก็ย้อนกลับไปที่จุดเกิดเหตุ ตอนนี้เค้าก็หนีไปแล้วหล่ะค่ะ
เพราะไม่ทันคิดว่าจะจับตัว ยังลังเลใจอยู่ค่าอาจจะทำของตก
พอดีข้างๆหนูมีพี่ๆกลุ่มหนึ่งเค้ายืนเลือกของอยูพอดี
ก็เลยถามๆเค้าว่าพี่เห็นผู้ชายคนนึงทำท่าลุกลี้ลุกลน แถวๆข้างหลังนี่มั้ย เค้าบอกเห็นค่ะ ทีนี้หนูก็เลยบอกว่าเค้ามาส่อง
ใต้กระโปรงหนู พี่เค้าก็บอกว่า ก็เห็นเค้าก้มๆอะไรทำนองนี้ แต่พอดีพี่เค้าไม่ได้สังเกต ก็เลยรีบวิ่งลงไปที่เคาเตอร์
บอกพี่เค้าว่าพี่ค่ะ พอดีมีคนมาส่องใต้กระโปรง หนูรบกวนขอดูกล้องวงจรปิดหน่อยได้มั้ยค่ะ แต่พอดีเค้าทำไม่เป็น
บอกว่าช่างจะมาดึงภาพให้พรุ่งนี้ ทิ้งเบอร์โทรไว้ที่ร้าน เจ็บใจมาก ที่วันนี้ทำอะไรไม่ได้เลย
พอพูดกับพี่ที่เคาเตอร์ได้ซักพัก เค้าก็ซักถามข้อมูลว่ายังไง แล้วเค้าก็ถามลักษณะรูปร่าง ผิวพรรณ สูงต่ำ ใส่เสื้อ
ทีนี้เค้าก็บอกว่าสงสัยคนเดิม แบบว่าเหมือนกับเค้าเคยทำแบบนี้มาก่อน  อารมณ์หนูก็บูดมากกว่าเดิม
ตอนนี้ก็นอนไม่หลับ อยากจะเอาเรื่องให้ถึงที่สุดอ่ะค่ะ หนูจะทำยังไงดีค่ะ ถ้าพรุ่งนี้ได้ภาพและVDo หนูต้องแจ้ง
ความอะไรยังไงค่ะถึงจะสาวไปให้ถึงตัว เจ็บใจมากค่ะ เจ็บใจตัวเองที่ทำไมไม่รีบเรียกคนมาช่วยก่อน
ใช่ไม่ใช่ยังไงก็พูดจากันได้ แต่ทีนี้โง่เอง T_T เตือนภัยกับสาวๆนะค่ะ ยังไงไปไหนก็ระวังพวกแอบจิตด้วยค่ะ
น่ากลัวนะค่ะ คนสมัยนี้ รู้หน้าไม่รู้ใจ หนูจะทำยังไงดีค่ะกับเรื่องนี้

 

ได้ภาพมาแล้วค่ะ มาดูหน้าไอ้โรคจิตกัน สาวๆจะได้จำหน้ามันได้

ไม่น่าเชื่อเลยค่ะรู้หน้าไม่รู้ใจ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนจะมาเป็นหนูอ่ะค่ะ
ดูมันทำสิค่ะ หน้าไม่อายจิงๆ ไม่รู้ว่าเอาไปเป็นธุรกิจหรือว่าอะไรรึปล่าว
นิสัย...

 

ในภาพเหมือนมันจะถ่ายได้นะค่ะ พอดีเป็นscreen shot แล้วกำหนดเวลา ก็เลยนานหน่อย
กำลังจะกดถ่ายประมาณนั้นแล้วทีนี้มือมันมาโดนพอดี ข้อขาพับลงช่วงนึง
ก็เลยตกใจรู้ตัวก่อน ถือว่าฟาดเคราะห์ไป ตอนแรกไม่รู้ว่ามาสองคน ถ้าหนูตะโกนไม่รู้จะโดนอะไรบ้าง
เพราะอีกคนมันคอยระวังให้ตลอดเลย เลวมากอ่ะค่ะ เลวสิ้นดี สงสารน้องเค้ามากแบบว่าเดินตามเลยค่ะ
ตอนนี้ไปไหนก็เลยกลับมาใส่กางเกงซ้อนเหมือนเดิม แถมเหมือนระแวงไปซะทุกคนเลย
ห้าๆๆ กลายเป็นจิตตก กังวลไปเลยอ่ะค่ะ
ถ้าใครมีเบาะแสแจ้งไปทาง สน ปทุมวันได้นะค่ะ หากเคยเห้นผู้ชายคล้ายๆแบบนี้
เพราะแจ้งความไปแล้ว แหะๆตอนแรกจะไม่เอาความพอไปดูภาพมา ก็เลยไปแจ้งเลยค่ะ

 

ช่วยกันฟอเวิดเยอะๆนะคะ ลูกผู้ญเหมือนกัน อย่าให้ใครมาหยาม บ้านเมืองกฎหมายไม่เอื้อ
อย่างน้อยเราก็ได้ทำค่ะ

 

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


น้องๆ หลายคนมีปัญหาว่า ทำตามขั้นตอนใน Welcome card เพื่อ Activate sim3G 365 ยังไง ผมจะ อธิบายให้อ่านกันนะครับเริ่มจาก

Nokia E72

1. ใส่ sim เข้าในมือถือ 3G ของคุณ (รองรับ HSDPA  2100)

2. เปิดเครื่อง แล้วรอรับสัญญาณ ตรงนี้ ดูให้แน่ใจว่า มัน Connect network TOT Mobile หรือ 365 เท่านั้น ถ้าขึ้นเป็น AIS ขอให้คุณ ตั้งค่า Network ของคุณเป็น UMTS นะครับ

3. เสร็จแล้ว ในส่วนของ Internet Connection name  ให้ตั้งค่าเป็น Internet แค่นั้นครับ username / password ไม่ต้องใส่
ครบตามนี้จะสามารถใช้ Data ได้แล้ว

4. ขั้นตอนต่อไป เป็นการ Register SIM โดย ใช้มือถือของคุณเข้าไปที่ http://m.365.co.th
เข้าไปแล้ว ให้กรอก Username / Password ของคุณ (ที่ลงทะเบียนไว้กับ 365)

5. ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ให้ดูข้อมูลจาก SIM การ์ด ส่วนที่ไม่ได้ใช้ (ส่วนการ์ดใหญ่ น่ะแหละ)
กรอก ICCID ซึ่งอยู่ใต้ bar code เอาแค่ 6 ตัวท้าย / อย่างเช่น 002482 และ อีกช่องนึงใส่ Puk1 /8 หลัก ใส่ให้หมด
เสร็จแล้วไปหน้าต่อไป

6. ระบบ จะ return ค่า หมายเลขโทรศัพท์ของคุณมาให้

7. จากนั้นเข้ามาแสดงตัวกันนิดนึง โดยเข้าที่เมนู Share แล้ว Upload รูป หรือ VDO ของคุณ มาโชว์กันหน่อย Post ท่าสวยๆ ว่า ได้ SIM แล้ว โว้ย...
และ  ใน Forum ตรงชื่อของคุณ จะมีเหรียญทอง ติดมาให้ สำหรับคุณที่ Register SIM แล้ว

สำหรับคนที่เข้าไปที่ m.365.co.th ไม่ได้ ให้ลอง ใช้ opera ในการเข้าใช้
หรือถ้ายังไม่ได้จริงๆ ให้เข้าที่หน้า Website www.365.co.th
Log in ตามปกติ แล้วเข้าไปที่ Profile ตรงเมนู ด้านขวาบน และเข้าไป Register SIM ได้เช่นกัน

 

Flickr Tags: ,,

image

 

ผลสลากออมสิน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

image

 

 

 

ประจำงวดวันที่ 2010-02-16

รางวัลที่ 1
133707

ข้างเคียงรางวัลที่ 1
133708 133706

รางวัลที่ 2
939581 926806 872497 593178 438769

รางวัลที่ 3
881385 846822 514653 654117 763512 573828 179978 507018 340684 643153

รางวัลที่ 4
629958 298789 541833 888006 980716 646431 051795 109411 162866 379936 154774 601006 431035 614033 074514 516874 339685 314164 995491 895098 068679 125668 807647 437395 801162 473364 057477 536494 782934 083649 105240 726360 003557 454630 876363 375191 236156 117350 347067 363448 509571 269914 356513 929049 580876 967076 499544 941929 001465 172721

รางวัลที่ 5
180703 416548 047417 563380 062769 293469 504728 779089 481340 661282 349761 021236 838827 380817 350661 733886 389599 249515 176932 077482 466813 079053 701460 532703 347846 880765 610660 484741 042405 902995 883740 181205 613116 845227 762081 050297 664176 494191 492081 023506 000166 030664 597121 583579 018213 542728 663531 800424 581429 189057 425858 944504 178214 661065 550483 647361 750646 789349 220130 309201 331513 964598 531362 948440 610249 431486 468450 468183 745390 472303 200790 959399 597368 990348 239660 490692 633400 385212 221768 729527 295965 154048 165966 780088 362039 208377 966385 035589 303364 527752 356599 237133 015325 848156 233661 279413 797432 526191 172373 455358

รางวัลเลขท้าย 3 ตัว
137 026 362 985

รางวัลเลขท้าย 2 ตัว
03

 

 

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มารู้จัก รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะเปิดบริการในปี 2557 กันซะหน่อย

วันนี้ เอาข้อมูล ของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ แบบละเอียดซึ่งตอนนี้ งานโยธา ลงเสาเข็ม ไปแล้วรวมระยะทาง ประมาณ 22 กิโลเมตร.............

ก่อนไปทราบถึงรายละเอียดของสายสีม่วง เรามาทราบกันก่อนนะคับว่า ปัจจุบัน กทม มีรถไฟฟ้า กี่เส้นทาง กี่สาย และ ระยะทางเท่าไหร่

ตอนนี้ กทม มีรถไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น

1.รถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทาง 20 กิโลเมตร

2.รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และ รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ระยะทาง 28.7 กิโลเมตร

3.รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงค์) ซึ่งจะเปิดบริการใน เดือนเมษายน 2553 นี้ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร

รวมระยะทาง 77.3 กิโลเมตร

clip_image002

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง

-------------------

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Purple Line, MRT Purple Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นโครงการ ระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง ประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางจากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางใหญ่ และเมืองนนทบุรี เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านบางซื่อ ผ่านพื้นที่เมืองเก่าย่านดุสิต ถนนสามเสน บางลำพู ผ่านฟ้า วังบูรพา ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา มายังใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ณ วงเวียนใหญ่ สิ้นสุดเส้นทางที่ราษฎร์บูรณะ ก่อนเข้าเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชานเมืองด้านทิศใต้ของกรุงเทพฯ นับเป็นเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญมากมายทั้งในพื้นที่นนทบุรีและกรุงเทพฯ ทั้งยังช่วยเชื่อมต่อการเดินทางจากชานเมืองทั้งด้านนนทบุรีและพระประแดง ให้สามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบาย

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดจากการปรับปรุงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม ช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ) -ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนัก นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างการ ก่อสร้าง และช่วงบางซื่อ (เตาปูน) -ราษฎร์บูรณะ

clip_image003

พื้นที่ ที่เส้นทางผ่าน

-------------------

อำเภอบางบัวทอง (เขต อบ ต.บางรักพัฒนา), อำเภอบางใหญ่ (เขต อบ ต.เสาธงหิน), อำเภอบางบัวทอง (เขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง และ อบ ต.บางรักใหญ่), อำเภอเมืองนนทบุรี (เขต อบ ต.บางรักน้อย เทศบาลตำบลไทรม้า และเทศบาลนครนนทบุรี), กรุงเทพมหานคร (เขตบางซื่อ, ดุสิต, พระนคร, ธนบุรี, คลองสาน, จอมทอง และราษฎร์บูรณะ)

clip_image004

โครงการ ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (ซึ่งปัจจุบัน กำลัง ก่อสร้าง)

ระยะทาง 23 กิโลเมตร

------------------------------------------------------------

เป็นเส้นทางยกระดับที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทาง ราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขนำเอาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ มาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนที่เหลือ ช่วงเตาปูน-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ

ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงแรก บางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า (สัญญาที่ 1) เส้นทางช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-บางใหญ่-คลองบางไผ่ (สัญญาที่ 2) และ อาคารที่จอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (สัญญาที่ 3) และอยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาในส่วนที่เหลือ ได้แก่ สัญญาที่ 4 สัญญาที่ 5 และ สัญญาที่ 6 (ระบบรถไฟฟ้า) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2557

clip_image005

ในรูป... บริเวณไซต์งานที่มีทดสอบเสาเข็ม

clip_image007

แนว เส้นทาง

เป็นโครงสร้างยกระดับเกือบทั้งหมด เริ่มต้นจากอุโมงค์ใต้ดินของสถานีบางซื่อ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ปัจจุบัน ขึ้นสู่ระดับดินบริเวณหน้าที่ทำการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ยกระดับมุ่งหน้าสะพานสูงบางซื่อ เลี้ยวขวาที่แยกเตาปูน เข้าสู่ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ผ่านจุดตัดทางรถไฟบางซ่อน แยกวงศ์สว่าง จนสุดเขตกรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขตเทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์ เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายที่แยกแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ไปเชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) ผ่านศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการ นนทบุรี จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานคู่ขนานฝั่งทิศเหนือของสะพานพระนั่งเกล้า เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางใหญ่ เลี้ยวขวาที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณคลองบางไผ่ พื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร

clip_image008

รูป แบบของโครงการ

* เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) (ซึ่งเป็นแบบเดียวกับ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน)

* ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage เหมือนกับ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งเป็นรางมาตรฐาน) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

* โครงสร้างทางวิ่ง เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตร จากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง สวยงาม ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน

* ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน (ซึ่งเป็นของบริษัทซีเมนส์) ความจุประมาณ 320 คนต่อคัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

clip_image009

ศูนย์ ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

------------------------------------------

มีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถบริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่

สถานีคลองบางไผ่ (อังกฤษ: Bang Phai Canal Station, รหัส P1) เป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งเป็นสถานียกระดับบนถนนกาญจนาภิเษก เขตองค์การ บริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

สถานีคลองบางไผ่เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง โดยประกอบด้วย ตัวสถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารโรงจอดรถไฟ ฟ้า และอาคารจอดรถแล้วจร ริมถนนกาญจนาภิเษก ตรงข้ามหมู่บ้านบัวทอง

สิ่ง อำนวยความสะดวก

-----------------------

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 4 แห่งได้แก่

* สถานีคลองบางไผ่ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,800 คัน

* สถานีสามแยกบางใหญ่ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,772 คัน

* สถานีท่าอิฐ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,244 คัน

* สถานีแยกนนทบุรี 1 พื้นที่จอดรถประมาณ 470 คัน

สถานี

-------

มี 16 สถานี (ไม่รวมสถานีบางซื่อ) เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ยกเว้นสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินเพียงแห่งเดียว[3] ทุกสถานีมีการออกแบบโดยเน้นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตามมาตรฐานของ National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่มาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้บริการ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

รูป แบบสถานี

-----------------

สถานีรถไฟฟ้าโครงการฯ ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัย บริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยเป็นสถานียกระดับ ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีทั้งรูปแบบชานชาลากลางและชานชาลาด้านข้าง การจัดพื้นที่ของสถานีประกอบด้วย

* ระดับถนน เป็นทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน ที่ไม่กีดขวางการสัญจรของคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับพักคอย สามารถกันแดดกันฝนได้ และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว

* ชั้นออกตั๋วโดยสาร (concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง ประกอบด้วยตู้ขายตั๋วและเครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ ผู้โดยสารสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ และบางสถานียังสามารถเชื่อมต่อไปยังอาคารข้างเคียงหรืออาคารจอดรถของโครงการ ได้อีกด้วย

* ชั้นชานชาลา เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร มีพื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลางเป็นช่องระบายอากาศเปิดโล่ง 2 ช่อง มีประตูกั้นชานชาลา (platform screen door) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height) มีบันไดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลงที่ปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และมีบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน

clip_image010

สถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)

-------------------------------

สถานีบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Station, รหัส BAN) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินปลายทางในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ที่ ตั้ง

บนพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ทอดตัวระหว่างแนวเส้นทางรถไฟทางไกล, แนวเส้นทางรถไฟเข้าสู่ย่านพหลโยธินด้านทิศใต้ และทางพิเศษศรีรัช ใกล้กับถนนเทอดดำริ และโรงงานปูนซีเมนต์ไทย ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร และแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ขณะนี้ (พ.ศ. 2552) สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อยังคงเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เชื่อมต่อกับระบบรถประจำทางในย่านบางซื่อ-เตาปูน และระบบรถไฟทางไกลผ่านสถานีชุมทางบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีชุมทางหลักของประเทศไทย จนกว่าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ โดยสถานีบางซื่อมีระดับชานชาลาอยู่ค่อนข้างตื้นกว่าสถานีอื่น เนื่องจากได้คาดหมายให้เป็นสถานีใต้ดินสถานีสุดท้าย ก่อนยกระดับขึ้นสู่ผิวดินบริเวณหน้าบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ผ่านสะพานสูงบางซื่อ สี่แยกประชาชื่น และเข้าสู่สถานีเตาปูน บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ซึ่งเป็นสถานียกระดับและเป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง จากนั้นจึงยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำบางโพ แล้วเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ไปจนถึงท่าพระ

นอกจากนั้น สถานีบางซื่อยังคาดหมายให้เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้า ชานเมือง ทั้งสายสีแดงอ่อนและสีแดงเข้ม บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ซึ่งยังมีโครงการในอนาคตที่ต้องการพัฒนาให้เป็นสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางระบบรถไฟของประเทศไทย

ปัจจุบันชานชาลาสถานีบางซื่อจะเปิดใช้เพียงชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยัง สถานีหัวลำโพง จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยัง สถานีหัวลำโพง จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถให้เรียบร้อยเสีย ก่อน

แต่เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงแล้ว เสร็จ จะมีการเดินรถในสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ - หัวลำโพงเพิ่มเติมอีก 1 สถานี ไปยังสถานีเตาปูน เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากสายสีน้ำเงินไปยังสายสีม่วง โดยจะใช้ชานชาลาที่ 2 เพื่อจอดเทียบขบวนรถที่มาจากสถานีกำแพงเพชร มุ่งหน้าสถานีเตาปูน

ราย ละเอียดสถานี

สี สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เพื่อแสดงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในอนาคต

รูป แบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 30 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 12 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)

ทาง เข้า-ออกสถานี

* 1 หัวมุมถนนเตชะวณิช ตัดถนนเทอดดำริ (สามแยกด้านหน้าสถานีรถไฟ), อาคารผู้โดยสาร 1 สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ (สายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ)

* 2 ชานชาลาสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ อาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้)

การ จัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

* 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร

* 2 ชั้นชานชาลา

สิ่ง อำนวยความสะดวก

* ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1

* ลานจอดรถสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า ในพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ขนาด 10 ไร่ ความจุ 500 คัน มีสะพานทางเดินข้ามทางรถไฟเชื่อมจากบริเวณชานชาลาสถานีรถไฟอาคาร 2 และทางเข้า-ออกที่ 2 ของสถานีรถไฟฟ้า (ผู้ขับขี่สามารถเข้าจอดรถได้จากถนนกำแพงเพชร)

* ลานจอดรถหน้าสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ

รถ โดยสารประจำทาง

ถนนเทอดดำริ หน้าสถานีรถไฟ สาย 9 52 65 70 97 125

สถาน ที่สำคัญใกล้เคียง

* สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และโครงการสถานีกลางบางซื่อ

* บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย

* โรงเรียนผะดุ งศิษย์พิทยา

* เทสโก้ โลตัส สาขาประชาชื่น

* ตลาดบางซื่อ

* ตลาดมณี พิมาน (ตลาดเตาปูน)

clip_image003[1]

สถานีเตาปูน

----------

สถานีเตาปูน (อังกฤษ: Tao Pun Station, รหัส P16) เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง และยังเป็นสถานี ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระหว่างบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใต้พื้นที่ของถนนกรุงเทพ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

สถานีเตาปูนเป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่เป็นระบบรางใต้ดินและสถานีใต้ดิน ก่อนที่จะยกระดับขึ้นลอยฟ้าบนถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี หน้าบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

สถาน ที่ที่เกี่ยวข้อง

สถานีตำรวจ นครบาลเตาปูน

clip_image012

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 16 แห่ง ได้แก่

1. สถานีคลองบางไผ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก ช่วงบริเวณคลองบางไผ่ ประกอบด้วย ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารโรงจอดรถไฟฟ้า และอาคารจอดรถ

2. สถานีตลาดบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก บริเวณย่านธุรกิจ สถานประกอบการ และที่อยู่อาศัย อาทิ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ห้างบิ๊กซี หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้ เป็นต้น

3. สถานีสามแยกบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่น อาทิ หมู่บ้านกฤษดานครโครงการ 10 หมู่บ้านธนกาจญน์ เป็นต้น พร้อมอาคารจอดรถ และบริเวณเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ

4. สถานีบางพลู ตั้งอยู่กลางสี่แยกบางพลู ถนนรัตนาธิเบศร์ ตัดถนนบางกรวยไทรน้อย

5. สถานีบางรักใหญ่ ตั้งอยู่กึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณแยกตัดกับถนนราชพฤกษ์

6. สถานีท่าอิฐ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้สำนักงานการเดินรถที่ 7 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พร้อมอาคารจอดรถ

7. สถานีไทรม้า ตั้งอยู่บริเวณเยื้องลงมาทางทิศใต้ของถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณซอยตาหรั่ง โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ในแนวคู่ขนาน

8. สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นสะพานพระนั่งเกล้า ฝั่งตะวันออก

9. สถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ พร้อมอาคารจอดรถ

10. สถานีศรีพรสวรรค์ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณซอย รัตนาธิเบศร์ 22

11. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณที่ว่าการ อำเภอเมืองนนทบุรี

12. สถานีกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนติวานนท์ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข

13. สถานีแยกติวานนท์ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ระหว่างซอยกรุงเทพ- นนทบุรี 12-14

14. สถานีวงศ์สว่าง ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณก่อนถึงทางแยกวงศ์สว่าง

15. สถานีบางซ่อน ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณชุมชนตลาดบางซ่อน

16. สถานีเตาปูน ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ 2 กับถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ที่เตาปูน

ทั้งนี้ รูปแบบและลักษณะสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าวได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ประกอบด้วย

- ชั้นล่าง เป็นทางขึ้น-ลง อยู่ด้านในทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน เพื่อมิให้กีดขวางการสัญจรขอบคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักคอย สามารถกันแดดกันฝน และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ทำให้ผู้โดยสารสามารถต่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว

- ชั้นที่สอง (Concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง และสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ ชั้นนี้จะประกอบด้วย ตู้ขายตั๋ว เครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ โดยในบางสถานีผู้โดยสารสามารถใช้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอาคารข้าง เคียง หรืออาคารจอดรถ ของโครงการได้

- ชั้นที่สาม (ชานชาลา) เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร พื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลาง เป็นช่องเปิดโล่ง 2 ช่อง เพื่อช่วยในการระยายอากาศ มีระบบประตู Platform Screen แบบ Half Height พร้อมบันไดผู้โดยสารขึ้น-ลงด้านปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน

โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตร จากผิวถนนเพื่อให้สามารถข้ามผ่าน สะพานลอยคนข้ามถนน สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถ มีตอม่ออยู่กลางถนน โดยตอม่อจะมีระยะห่างกันสูงสุดถึง 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ มีลักษณะโปร่งบาง สวยงาม ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคาบริเวณริมถนน

clip_image011[1]

การ เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

----------------

* สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี)

* สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟบางซ่อน ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

* สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

clip_image013

ผล กระทบต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้าง

----------------------------------

โครงการนี้จะมีการเวนคืนที่ดินเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเวนคืนถือว่าเป็นผู้เสียสละ จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่คลองบางไผ่และเตาปูน

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็น ระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้รวมตัวคัดค้านการ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบต่อการค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ

สัญญา การก่อสร้าง

-------------------

1.สัญญาที่ 1 โครงสร้างทางยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม. ค่าก่อสร้าง 14,842 ล้านบาท

โดยสัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีเตาปูนถึงสถานีสะพานพระนั่งเกล้า และงานก่อสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อ-เตาปูน CKTC Joint Venture ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคาสัญญาที่ 1

clip_image014

สัญญาที่ 2 โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตกระยะ 11 กม.จากสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ ค่าก่อสร้าง 13,050 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีสะพานพระนั่งเกล้าถึงสถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ชนะการประกวดราคา และสัญญาที่ 3 ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ซึ่งประกอบด้วยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่บางใหญ่ และอาคารจอดรถแล้ว จำนวน 4 แห่ง บริษัท PAR Joint Venture เป็นผู้ชนะการประกวดราคา

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ค่าก่อสร้าง 5,050 ล้านบาท

clip_image015

ความ คืบหน้าของโครงการช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

----------------------

ภาพอัพเดตสัญญาที่ 1 (19/1/10)

งานทดสอบเสาเข็มบริเวณจุดตัดทางเลี่ยงเมืองนนท์กับถนนรัตนาธิเบศร์ (เยื้องหน้าเซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์)

clip_image017

clip_image018

clip_image019

ภาพอัพเดทวันที่ 13/2/2553

-------------------

แยกแคราย ตรงนี้ยังไม่ได้กั้น

clip_image020

บริเวณป้ายรถเมล์หน้ากระทรวงสาธารณสุข

clip_image021

หน้าเซนทรัล มีแผงกั้นแล้ว

clip_image022

แยกเลี่ยงเมืองนนท์

clip_image023

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

 

พระพุทธรูปใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

 

2

6_350_1243987607

7DEC_7

7DEC_8

GoldenLand

id_23935_23

id_42792_16

watmuang_10

watmuang_18-1

DSC-1496

DSC_149

DSC-1326

 


flag counter

free counters