twitter

Blog Archive

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มารู้จัก รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะเปิดบริการในปี 2557 กันซะหน่อย

วันนี้ เอาข้อมูล ของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ แบบละเอียดซึ่งตอนนี้ งานโยธา ลงเสาเข็ม ไปแล้วรวมระยะทาง ประมาณ 22 กิโลเมตร.............

ก่อนไปทราบถึงรายละเอียดของสายสีม่วง เรามาทราบกันก่อนนะคับว่า ปัจจุบัน กทม มีรถไฟฟ้า กี่เส้นทาง กี่สาย และ ระยะทางเท่าไหร่

ตอนนี้ กทม มีรถไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น

1.รถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทาง 20 กิโลเมตร

2.รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และ รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ระยะทาง 28.7 กิโลเมตร

3.รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงค์) ซึ่งจะเปิดบริการใน เดือนเมษายน 2553 นี้ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร

รวมระยะทาง 77.3 กิโลเมตร

clip_image002

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง

-------------------

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Purple Line, MRT Purple Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นโครงการ ระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง ประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางจากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางใหญ่ และเมืองนนทบุรี เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านบางซื่อ ผ่านพื้นที่เมืองเก่าย่านดุสิต ถนนสามเสน บางลำพู ผ่านฟ้า วังบูรพา ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา มายังใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ณ วงเวียนใหญ่ สิ้นสุดเส้นทางที่ราษฎร์บูรณะ ก่อนเข้าเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชานเมืองด้านทิศใต้ของกรุงเทพฯ นับเป็นเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญมากมายทั้งในพื้นที่นนทบุรีและกรุงเทพฯ ทั้งยังช่วยเชื่อมต่อการเดินทางจากชานเมืองทั้งด้านนนทบุรีและพระประแดง ให้สามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบาย

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดจากการปรับปรุงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม ช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ) -ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนัก นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างการ ก่อสร้าง และช่วงบางซื่อ (เตาปูน) -ราษฎร์บูรณะ

clip_image003

พื้นที่ ที่เส้นทางผ่าน

-------------------

อำเภอบางบัวทอง (เขต อบ ต.บางรักพัฒนา), อำเภอบางใหญ่ (เขต อบ ต.เสาธงหิน), อำเภอบางบัวทอง (เขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง และ อบ ต.บางรักใหญ่), อำเภอเมืองนนทบุรี (เขต อบ ต.บางรักน้อย เทศบาลตำบลไทรม้า และเทศบาลนครนนทบุรี), กรุงเทพมหานคร (เขตบางซื่อ, ดุสิต, พระนคร, ธนบุรี, คลองสาน, จอมทอง และราษฎร์บูรณะ)

clip_image004

โครงการ ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (ซึ่งปัจจุบัน กำลัง ก่อสร้าง)

ระยะทาง 23 กิโลเมตร

------------------------------------------------------------

เป็นเส้นทางยกระดับที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทาง ราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขนำเอาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ มาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนที่เหลือ ช่วงเตาปูน-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ

ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงแรก บางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า (สัญญาที่ 1) เส้นทางช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-บางใหญ่-คลองบางไผ่ (สัญญาที่ 2) และ อาคารที่จอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (สัญญาที่ 3) และอยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาในส่วนที่เหลือ ได้แก่ สัญญาที่ 4 สัญญาที่ 5 และ สัญญาที่ 6 (ระบบรถไฟฟ้า) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2557

clip_image005

ในรูป... บริเวณไซต์งานที่มีทดสอบเสาเข็ม

clip_image007

แนว เส้นทาง

เป็นโครงสร้างยกระดับเกือบทั้งหมด เริ่มต้นจากอุโมงค์ใต้ดินของสถานีบางซื่อ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ปัจจุบัน ขึ้นสู่ระดับดินบริเวณหน้าที่ทำการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ยกระดับมุ่งหน้าสะพานสูงบางซื่อ เลี้ยวขวาที่แยกเตาปูน เข้าสู่ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ผ่านจุดตัดทางรถไฟบางซ่อน แยกวงศ์สว่าง จนสุดเขตกรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขตเทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์ เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายที่แยกแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ไปเชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) ผ่านศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการ นนทบุรี จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานคู่ขนานฝั่งทิศเหนือของสะพานพระนั่งเกล้า เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางใหญ่ เลี้ยวขวาที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณคลองบางไผ่ พื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร

clip_image008

รูป แบบของโครงการ

* เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) (ซึ่งเป็นแบบเดียวกับ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน)

* ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage เหมือนกับ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งเป็นรางมาตรฐาน) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

* โครงสร้างทางวิ่ง เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตร จากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง สวยงาม ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน

* ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน (ซึ่งเป็นของบริษัทซีเมนส์) ความจุประมาณ 320 คนต่อคัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

clip_image009

ศูนย์ ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

------------------------------------------

มีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถบริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่

สถานีคลองบางไผ่ (อังกฤษ: Bang Phai Canal Station, รหัส P1) เป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งเป็นสถานียกระดับบนถนนกาญจนาภิเษก เขตองค์การ บริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

สถานีคลองบางไผ่เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง โดยประกอบด้วย ตัวสถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารโรงจอดรถไฟ ฟ้า และอาคารจอดรถแล้วจร ริมถนนกาญจนาภิเษก ตรงข้ามหมู่บ้านบัวทอง

สิ่ง อำนวยความสะดวก

-----------------------

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 4 แห่งได้แก่

* สถานีคลองบางไผ่ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,800 คัน

* สถานีสามแยกบางใหญ่ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,772 คัน

* สถานีท่าอิฐ พื้นที่จอดรถประมาณ 1,244 คัน

* สถานีแยกนนทบุรี 1 พื้นที่จอดรถประมาณ 470 คัน

สถานี

-------

มี 16 สถานี (ไม่รวมสถานีบางซื่อ) เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ยกเว้นสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินเพียงแห่งเดียว[3] ทุกสถานีมีการออกแบบโดยเน้นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตามมาตรฐานของ National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่มาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้บริการ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

รูป แบบสถานี

-----------------

สถานีรถไฟฟ้าโครงการฯ ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัย บริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยเป็นสถานียกระดับ ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีทั้งรูปแบบชานชาลากลางและชานชาลาด้านข้าง การจัดพื้นที่ของสถานีประกอบด้วย

* ระดับถนน เป็นทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน ที่ไม่กีดขวางการสัญจรของคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับพักคอย สามารถกันแดดกันฝนได้ และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว

* ชั้นออกตั๋วโดยสาร (concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง ประกอบด้วยตู้ขายตั๋วและเครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ ผู้โดยสารสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ และบางสถานียังสามารถเชื่อมต่อไปยังอาคารข้างเคียงหรืออาคารจอดรถของโครงการ ได้อีกด้วย

* ชั้นชานชาลา เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร มีพื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลางเป็นช่องระบายอากาศเปิดโล่ง 2 ช่อง มีประตูกั้นชานชาลา (platform screen door) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height) มีบันไดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลงที่ปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และมีบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน

clip_image010

สถานีบางซื่อ (รถไฟฟ้ามหานคร)

-------------------------------

สถานีบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Station, รหัส BAN) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินปลายทางในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ที่ ตั้ง

บนพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ทอดตัวระหว่างแนวเส้นทางรถไฟทางไกล, แนวเส้นทางรถไฟเข้าสู่ย่านพหลโยธินด้านทิศใต้ และทางพิเศษศรีรัช ใกล้กับถนนเทอดดำริ และโรงงานปูนซีเมนต์ไทย ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร และแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ขณะนี้ (พ.ศ. 2552) สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อยังคงเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เชื่อมต่อกับระบบรถประจำทางในย่านบางซื่อ-เตาปูน และระบบรถไฟทางไกลผ่านสถานีชุมทางบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีชุมทางหลักของประเทศไทย จนกว่าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ โดยสถานีบางซื่อมีระดับชานชาลาอยู่ค่อนข้างตื้นกว่าสถานีอื่น เนื่องจากได้คาดหมายให้เป็นสถานีใต้ดินสถานีสุดท้าย ก่อนยกระดับขึ้นสู่ผิวดินบริเวณหน้าบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ผ่านสะพานสูงบางซื่อ สี่แยกประชาชื่น และเข้าสู่สถานีเตาปูน บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ซึ่งเป็นสถานียกระดับและเป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง จากนั้นจึงยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำบางโพ แล้วเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ไปจนถึงท่าพระ

นอกจากนั้น สถานีบางซื่อยังคาดหมายให้เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้า ชานเมือง ทั้งสายสีแดงอ่อนและสีแดงเข้ม บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ซึ่งยังมีโครงการในอนาคตที่ต้องการพัฒนาให้เป็นสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางระบบรถไฟของประเทศไทย

ปัจจุบันชานชาลาสถานีบางซื่อจะเปิดใช้เพียงชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยัง สถานีหัวลำโพง จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยัง สถานีหัวลำโพง จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถให้เรียบร้อยเสีย ก่อน

แต่เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงแล้ว เสร็จ จะมีการเดินรถในสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ - หัวลำโพงเพิ่มเติมอีก 1 สถานี ไปยังสถานีเตาปูน เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากสายสีน้ำเงินไปยังสายสีม่วง โดยจะใช้ชานชาลาที่ 2 เพื่อจอดเทียบขบวนรถที่มาจากสถานีกำแพงเพชร มุ่งหน้าสถานีเตาปูน

ราย ละเอียดสถานี

สี สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เพื่อแสดงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในอนาคต

รูป แบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 30 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 12 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)

ทาง เข้า-ออกสถานี

* 1 หัวมุมถนนเตชะวณิช ตัดถนนเทอดดำริ (สามแยกด้านหน้าสถานีรถไฟ), อาคารผู้โดยสาร 1 สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ (สายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ)

* 2 ชานชาลาสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ อาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้)

การ จัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

* 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร

* 2 ชั้นชานชาลา

สิ่ง อำนวยความสะดวก

* ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1

* ลานจอดรถสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า ในพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ขนาด 10 ไร่ ความจุ 500 คัน มีสะพานทางเดินข้ามทางรถไฟเชื่อมจากบริเวณชานชาลาสถานีรถไฟอาคาร 2 และทางเข้า-ออกที่ 2 ของสถานีรถไฟฟ้า (ผู้ขับขี่สามารถเข้าจอดรถได้จากถนนกำแพงเพชร)

* ลานจอดรถหน้าสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ

รถ โดยสารประจำทาง

ถนนเทอดดำริ หน้าสถานีรถไฟ สาย 9 52 65 70 97 125

สถาน ที่สำคัญใกล้เคียง

* สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และโครงการสถานีกลางบางซื่อ

* บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย

* โรงเรียนผะดุ งศิษย์พิทยา

* เทสโก้ โลตัส สาขาประชาชื่น

* ตลาดบางซื่อ

* ตลาดมณี พิมาน (ตลาดเตาปูน)

clip_image003[1]

สถานีเตาปูน

----------

สถานีเตาปูน (อังกฤษ: Tao Pun Station, รหัส P16) เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง และยังเป็นสถานี ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระหว่างบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใต้พื้นที่ของถนนกรุงเทพ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

สถานีเตาปูนเป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่เป็นระบบรางใต้ดินและสถานีใต้ดิน ก่อนที่จะยกระดับขึ้นลอยฟ้าบนถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี หน้าบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

สถาน ที่ที่เกี่ยวข้อง

สถานีตำรวจ นครบาลเตาปูน

clip_image012

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 16 แห่ง ได้แก่

1. สถานีคลองบางไผ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก ช่วงบริเวณคลองบางไผ่ ประกอบด้วย ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารโรงจอดรถไฟฟ้า และอาคารจอดรถ

2. สถานีตลาดบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก บริเวณย่านธุรกิจ สถานประกอบการ และที่อยู่อาศัย อาทิ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ห้างบิ๊กซี หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้ เป็นต้น

3. สถานีสามแยกบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษก บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่น อาทิ หมู่บ้านกฤษดานครโครงการ 10 หมู่บ้านธนกาจญน์ เป็นต้น พร้อมอาคารจอดรถ และบริเวณเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ

4. สถานีบางพลู ตั้งอยู่กลางสี่แยกบางพลู ถนนรัตนาธิเบศร์ ตัดถนนบางกรวยไทรน้อย

5. สถานีบางรักใหญ่ ตั้งอยู่กึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณแยกตัดกับถนนราชพฤกษ์

6. สถานีท่าอิฐ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้สำนักงานการเดินรถที่ 7 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พร้อมอาคารจอดรถ

7. สถานีไทรม้า ตั้งอยู่บริเวณเยื้องลงมาทางทิศใต้ของถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณซอยตาหรั่ง โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ในแนวคู่ขนาน

8. สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นสะพานพระนั่งเกล้า ฝั่งตะวันออก

9. สถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ พร้อมอาคารจอดรถ

10. สถานีศรีพรสวรรค์ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณซอย รัตนาธิเบศร์ 22

11. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณที่ว่าการ อำเภอเมืองนนทบุรี

12. สถานีกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนติวานนท์ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข

13. สถานีแยกติวานนท์ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ระหว่างซอยกรุงเทพ- นนทบุรี 12-14

14. สถานีวงศ์สว่าง ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณก่อนถึงทางแยกวงศ์สว่าง

15. สถานีบางซ่อน ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณชุมชนตลาดบางซ่อน

16. สถานีเตาปูน ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ 2 กับถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ที่เตาปูน

ทั้งนี้ รูปแบบและลักษณะสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าวได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ประกอบด้วย

- ชั้นล่าง เป็นทางขึ้น-ลง อยู่ด้านในทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน เพื่อมิให้กีดขวางการสัญจรขอบคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักคอย สามารถกันแดดกันฝน และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ทำให้ผู้โดยสารสามารถต่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว

- ชั้นที่สอง (Concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง และสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ ชั้นนี้จะประกอบด้วย ตู้ขายตั๋ว เครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ โดยในบางสถานีผู้โดยสารสามารถใช้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอาคารข้าง เคียง หรืออาคารจอดรถ ของโครงการได้

- ชั้นที่สาม (ชานชาลา) เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร พื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลาง เป็นช่องเปิดโล่ง 2 ช่อง เพื่อช่วยในการระยายอากาศ มีระบบประตู Platform Screen แบบ Half Height พร้อมบันไดผู้โดยสารขึ้น-ลงด้านปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน

โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตร จากผิวถนนเพื่อให้สามารถข้ามผ่าน สะพานลอยคนข้ามถนน สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถ มีตอม่ออยู่กลางถนน โดยตอม่อจะมีระยะห่างกันสูงสุดถึง 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ มีลักษณะโปร่งบาง สวยงาม ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคาบริเวณริมถนน

clip_image011[1]

การ เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

----------------

* สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี)

* สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟบางซ่อน ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

* สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

clip_image013

ผล กระทบต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้าง

----------------------------------

โครงการนี้จะมีการเวนคืนที่ดินเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเวนคืนถือว่าเป็นผู้เสียสละ จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่คลองบางไผ่และเตาปูน

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็น ระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้รวมตัวคัดค้านการ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบต่อการค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ

สัญญา การก่อสร้าง

-------------------

1.สัญญาที่ 1 โครงสร้างทางยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม. ค่าก่อสร้าง 14,842 ล้านบาท

โดยสัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีเตาปูนถึงสถานีสะพานพระนั่งเกล้า และงานก่อสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อ-เตาปูน CKTC Joint Venture ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคาสัญญาที่ 1

clip_image014

สัญญาที่ 2 โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตกระยะ 11 กม.จากสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ ค่าก่อสร้าง 13,050 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีสะพานพระนั่งเกล้าถึงสถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ชนะการประกวดราคา และสัญญาที่ 3 ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ซึ่งประกอบด้วยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่บางใหญ่ และอาคารจอดรถแล้ว จำนวน 4 แห่ง บริษัท PAR Joint Venture เป็นผู้ชนะการประกวดราคา

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ค่าก่อสร้าง 5,050 ล้านบาท

clip_image015

ความ คืบหน้าของโครงการช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

----------------------

ภาพอัพเดตสัญญาที่ 1 (19/1/10)

งานทดสอบเสาเข็มบริเวณจุดตัดทางเลี่ยงเมืองนนท์กับถนนรัตนาธิเบศร์ (เยื้องหน้าเซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์)

clip_image017

clip_image018

clip_image019

ภาพอัพเดทวันที่ 13/2/2553

-------------------

แยกแคราย ตรงนี้ยังไม่ได้กั้น

clip_image020

บริเวณป้ายรถเมล์หน้ากระทรวงสาธารณสุข

clip_image021

หน้าเซนทรัล มีแผงกั้นแล้ว

clip_image022

แยกเลี่ยงเมืองนนท์

clip_image023

11 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใหญ่อย่างแรง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากทราบว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงสิ้นสุดที่ไหนอำเภออะไรใครรู้ช่วยตอบด้วย

ดด กล่าวว่า...

แสดงว่าจะมี การจ้างงานเพิ่มขึ้น บุคคลกรตรงนี้จะเปิดรับสมัคร ช่วงเวลาใดครับ

non-non กล่าวว่า...

คุณๆผู้ชาย ที่ต้องการน้องชาย
ใหญ่ ยาว เป็นอาวุธ ปลอดภัย
เเละได้ผล ตามลิ้งด้านล่างเลย
ต้อง copy ลิ้ง เเล้วไป pasta เท่านั้น
0847643106 - 0818692833
ปลอดภัยและได้ผล ทดสอบมาเเล้ว
ใหญ่ขึ้น1-2 นิ้ว แน่นอน
ขายดีอันดับ 1

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำไมสถานีไปสิ้นสุดตรงที่คลองบางไผ่เพราะตรงนั้นเป็นจุดรถติดอยู่แล้ว น่าเลยห้างสรรพสินค้าไปอีก เพราะจะได้กระจายการจราจรได้ดีขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีจ้า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ช่วยกวดหหนทรายบริเวณหน้ามกฤษดาถึงหน้าแบงค์ไทยพาณิชย์ด้วยนะมีอุบัติเหตุมอเตอร์ไชด์ล้มบ่อยฝุ่นเยอะมาก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่เห็นพูดถึง ส่วนต่อไปพระปะแดงเลย อีกนานเหรอ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hi there, yup this paragraph is genuinely good and I have learned
lot of things from it regarding blogging. thanks.



Check out my blog post - flying airplane games
My site :: airplane game

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Appreciate this post. Will try it out.

My web-site; airplane simulation games

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จุดสิ้นสุดของสถานีบางไผ่ จะมีรถไฟฟ้าไปต่อรถไฟฟ้าสีน้ำเงินอีกหรือไม่

แสดงความคิดเห็น


flag counter

free counters