Blog Archive
-
►
2012
(1)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
-
►
2011
(1)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
-
▼
2010
(89)
-
▼
มีนาคม
(15)
- *เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (RPG)
- *Montenegro (มอนเตเนโกร)
- *ผลสลากออมทรัพย์ ธกส. งวด 16 มี.ค. 53
- *ผลสลากออมสินพิเศษ งวดวันที่ 16 มี.ค. 53
- *ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 มี.ค. 53
- *กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- *หลับให้สบายนะครับ “พี่เพียร”
- *อาลัย วีระบุรุษ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา
- *ขสมก.เปลี่ยนเส้นทางเดินรถเลี่ยง”แดงชุมนุม”
- *กำเนิด pegasus (เพกาซัส) ตำนาน 2
- *กำเนิด pegasus (เพกาซัส) ตำนาน 1
- *กำเนิดเพอร์ซีอุส (Perseus)
- *ใบปิดหนัง Clash of the Titans
- *ยาไอช์ เกร็ดนรก
- *ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 มี.ค. 53
- ► กุมภาพันธ์ (17)
-
▼
มีนาคม
(15)
เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (อังกฤษ: Rocket-propelled grenade หรือ RPG) เป็นอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเล็ก ชนิดประทับบ่ายิง ปากลำกล้องกว้าง 40 มม. ใช้ลูกจรวดขนาด 82 มม. (RPG-2) และขนาด 85 มม. (RPG-7) ตามลำดับ เป็นอาวุธเสริมเพื่อใช้ทำลายรถถังหรือยานยนตร์ต่างๆ ที่มั่นกำบัง รวมทั้งสังหารบุคคลเป็นกลุ่มก้อน
คำว่า RPG มาจากคำในภาษารัสเซียว่า РПГ โดยย่อมาจาก "ручной противотанковый гранатомёт" ซึ่งถอดเสียงอ่านได้ว่า Ruchnoy Protivotankoviy Granatomyot (อังกฤษ: hand-held anti-tank grenade launcher)
เครื่องยิงจรวด RPG-7
ชนิด เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง
สัญชาติ สหภาพโซเวียต
สมัย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน
การใช้งาน อาวุธประจำหมู่
เป้าหมาย พาหนะ , บุคคล , สิ่งก่อสร้าง
เริ่มใช้ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)
ช่วงผลิต พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน
ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน
สงคราม สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก
ชนิด เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง
ขนาดลำกล้อง 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว)
ความยาวลำกล้อง
650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7)
กระสุน
ลูกจรวดแบบหัวรบดินโพรง
ขนาด 82 มิลลิเมตร (RPG-2)
ขนาด 85 มิลลิเมตร (RPG-7)
ระยะหวังผล
150 เมตร (RPG-2)
500 เมตร (RPG-7)
น้ำหนัก
4.67 กิโลกรัม (RPG-2)
7 กิโลกรัม (RPG-7)
ความยาว
650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7)
เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี พัฒนาโดยกองทัพสหภาพโซเวียตภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรับปรุงมาจากเครื่องยิงจรวด Panzerfaust ของนาซีเยอรมนี
โดยเครื่องยิงจรวดรุ่นแรกที่เข้าประจำการในกองทัพโซเวียตคือ เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี 2 (RPG-2) เมื่อปีค.ศ. 1949 ก่อนจะมีการนำไปปรับปรุงเป็นเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี 7 ในเวลาต่อมา
จรวด RPG-7 เป็นจรวดที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานในปี ค.ศ. 1962 เป็นต้นมา รุ่นที่ผลิตในจีนเรียกว่า ROCKET TYPE 69 มีลักษณะคล้ายกับเครื่องยิงจรวด RPG-2 แต่ขนาดจรวดโตขึ้นเป็น 85 มม.จากเดิม 82 มม. และตัวเครื่องยิงมีขนาดสั้นกว่า เครื่องเล็งเป็นระบบองค์ทัศนะ สามารถทำการเล็งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน หางนำทิศเปลี่ยนใหม่เป็นแบบใบมีดขนาดใหญ่ และจะกางออกทันทีที่ลูกจรวดถูกยิงพ้นลำกล้อง ตอนท้ายสุดของลูกจรวดจะทำหางนำทิศขนาดเล็กไว้เพื่อให้ลูกจรวดหมุนตัวเล็ก น้อยขณะแหวกอากาศสู่เป้าหมาย ซึ่งทำให้จรวดมีการทรงตัวดีขึ้น นอกจากนั้นลูกจรวดยังมี ROCKET MORTOR เพื่อช่วยขับเคลื่อนโดยเมื่อยิงลูกจรวดพ้นปากลำกล้องออกไปประมาณ 10 เมตร ROCKET MORTOR จะจุดตัว ทำให้มีระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น 500 เมตร ก่อนทำการยิง RPG-7 จะต้องทำการประกอบชุดดินขับจรวดโดยการขันเกลียวยึดเข้ากับตัวจรวดเสียก่อน
จรวด RPG-2 ได้รับการพัฒนาและผลิตขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดย บ. PANSERFAUST ต่อมาจีนได้นำแบบไปผลิตโดยใช้ชื่อว่า ROCKET TYPE 56 เป็นจรวดเจาะเกราะต่อสู้รถถัง (HEAT) ทรงตัวด้วยครีบหาง บรรจุลูกจรวดทางปากลำกล้อง แผ่นครีบหางเป็นแผ่นแหนบม้วนพับติดกับท่อท้ายลูกจรวดด้วยแหวนยึด (RETAINED RING) และจะหลุดออกโดยอัตโนมัติเมื่อบรรจุลูกจรวดเข้ากับเครื่องยิง เครื่องลั่นไกเป็นแบบสปริงดันนกสับ ด้านท้ายท่อยิงเป็นรูปทรงกระบอกตรงหรือเป็นแบบปากแตรในบางรุ่น
สถานภาพของเครื่องยิงจรวดทั้ง 2 แบบ
- RPG-2 ปัจจุบันประเทศจีนเลิกผลิตแล้ว แต่ยังมีใช้งานในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง
- RPG-7 ยังประจำการในกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอ ,อัฟริกา,เอเชียใต้ และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางบางประเทศ
- ประเทศผู้ผลิต - ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอ และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ราคา เครื่องยิงจรวด RPG-2 กระบอกละ 24,500 บาท เครื่องยิงจรวด RPG-7 กระบอกละ 46,300 บาท
หัวกระสุนของปืนนี้มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันหลักๆมี 5 ชนิด ดังนี้
PG-7VM HEAT grenade cut-out
ผลิตปี : 1961
ขนาดกระสุน : 85MM
น้ำหนัก : 2.2 Kg.
ระยะหวังผล : 500 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 260MM
ประวัติ
หัวจรวดอันนี้เป็นรุ่นเเรกๆ เเต่อำนาจในการทำลายเเละในการทะลุทะลวงรถหุ้มเกาะจะน้อยกว่ารุ่นที่ 2น่ะ
-------------------------------------------------
PG-7VL HEAT grenade
ผลิตปี : 1977
ขนาดกระสุน : 93MM
น้ำหนัก : 2.6 Kg.
ระยะหวังผล : 500 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 500MM
ประวัติ
เป็นจรวดแบบมาตรฐาน ใช้ได้กับยานพาหนะเกือบทุกประเภท รวมไปถึงพวกป้อมปราการต่างๆ หัวจรวดชนิดนี้จะไม่เพียงแค่ทำความเสียหายด้วยแรงระเบิดเท่านั้น แต่จะแผ่รังสีความร้อนเพื่อสังหารคนที่หลบซ่อนอยู่ภายในยานพาหนะหรือป้อมนั้นๆด้วย
--------------------------------------------------
PG-7VR tandem (dual-warhead) HEAT grenade
ผลิตปี : 1988
ขนาดกระสุน : 64MM/105MM
น้ำหนัก : 4.5 Kg.
ระยะหวังผล : 200 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : ERA + 600-700MM
ประวัติ
หัวจรวดอันนี้จะคล้ายแบบที่ 2 แต่อันนี้จะใช้ยิงเน้นไปทางรถหุ้มเกราะหรือรถถังมากกว่าครับ อำนาจทะลุทะลวงสูงถึง 60 ซม.
--------------------------------------------------
TBG-7V Thermobaric (FAE) grenade
ผลิตปี : 1988
ขนาดกระสุน : 105MM
น้ำหนัก : 4.5 Kg.
ระยะหวังผล : 200 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 0
ประวัติ
อันนี้เป็นหัวจรวดที่ใช้ต่อต้านฝูงชนด้วยรังสีความร้อนสูงถึง 3000 องศาเซลเซียสครับ ระเบิดที่เหนือกว่าระเบิดนาปาล์ม เพราะมันคือระเบิดที่บรรจุเชื้อเพลิงที่สามารถระเบิดลุกเป็นกลุ่มไฟสุดร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำในหลืบถ้ำ หรือแม้แต่ซอกซอยที่ซุ่มของสัตรู โดยมันทำงานอย่างเป็นระบบคือระบบแรกเป็นระเบิดทำลายที่กำบังและระบบที่สองคือเพลิงเผาซ้ำมีความร้อนสูงถึง 3000 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถหลอมละลายสรรพสิ่งให้เป็นจุณไปในพริบตา อย่าว่าคนเลย ปืนที่ใช้ก็โดนหลอมเป็นก้อนทันที
---------------------------------------------------
OG-7V fragmentation antipersonnel grenade (1999)
ผลิตปี : 1999
ขนาดกระสุน : 40MM
น้ำหนัก : 2 Kg.
ระยะหวังผล : 350 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 0
สาธารณรัฐมอนเตเนโกร (Republic of Montenegro) เป็นประเทศเอกราชประเทศใหม่ล่าสุดของโลก จะมีอายุครบ 3 ปีในวันที่ 21 พฤษภาคม ศกนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรด แอลเบเนียทางทิศใต้
การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของรัฐต่างๆ ที่รวมตัวกันอยู่ในยูโกสลาเวีย รัฐโครเอเชียสโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) แต่เซอร์เบียและมอนเตเนโกรกลับรวมตัวกันอยู่ดั่งเดิม พร้อมกับเปลี่ยนระบบการ ปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย" และมีนายสลอบอดัน มีโลเซวิช (Slobodan Miloseviv) เป็นประธานาธิบดีคนแรก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2546 (ค.ศ. 2003) ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งเป็น เซอร์เบียและมอนเตเนโกร แต่ละรัฐมีอำนาจปกครองตนเองสูงสุด มีเพียงการทหารและการต่างประเทศที่รวมกันเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากเซอร์เบีย โดยร้อยละ 55.4 ซึ่งเกินเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 55) ที่สหภาพยุโรปกำหนดที่จะให้การรับรอง และด้วยเหตุนี้มอนเตเนโกรจึงประกาศแยกตัวเพื่อมาเป็นประเทศใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ปัจจุบันมอนเตเนโกรได้รับการรับรองจากนานาประเทศ และเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 192 และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ หลายองค์การแล้ว
ประเทศนี้มีระดับ GDP ที่ 149 ประเทศไทย อยู่ที่ 33 UAE ที่ 37 ถือเป็นประเทศที่ยากจนประเทศหนึ่งครับ
ประเทศเล็กๆ แห่งนี้มีประชากรไม่เกิน 7แสนคน ใช้ภาษา "มอนเตเนกริน" ของตัวเอง แม้จะมีลักษณะคล้ายๆ ภาษาเซอร์เบียน แต่ก็มีประวัติย้อนหลังถึง 500 ปี โดยหนังสือเล่มแรกๆ ที่ถูกค้นพบ (ประวัติความเป็นมายาวนานกว่านั้นเป็นพันปี) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกาย "ออร์โธดอกซ์ คริสเตียน" ทว่า ด้วยเงื่อนไขทางสังคมและสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในยุโรปตะวันออก
ภายหลังสงครามเย็น ทำให้มีผู้อพยพเป็นชนกลุ่มน้อยพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นสงครามยูโกสวาเกีย หรือสงครามโคโซโว เป็นต้น
ชื่อของประเทศนี้ แปลความหมายเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า black mountain หรือ "ภูเขาสีดำ" ตั้งอยู่ทางยุโรปอุษาคเนย์ หรือยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ชายแดนด้านตะวันตกและใต้ เป็นทะเลแอเดรียติค ด้านตะวันตกติดกับโครเอเชีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับบอสเนียและเฮอร์โกเซวินา ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับเซอร์เบีย ส่วนด้านตะวันออกติดกับโคโซโว โดยมีด้านตะวันออกเฉียงใต้ติด กับอัลเบเนีย
ปัจจุบัน มอนเตเนโกร เป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ และพยายามร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป สิ่งที่น่าแปลกก็คือ แม้ยังไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป แต่ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ก็ยินดีรับเงินยูโรมาเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการ (ก่อนหน้านั้น เขาใช้สกุลเงินดอยช์ของเยอรมนี)
นับตั้งแต่ประกาศอิสรภาพ จุดเด่นด้านเศรษฐกิจของ มอนเตเนโกร คืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะในปี ค.ศ.2007 ที่มีนักท่องเที่ยวแห่มาชมความงามตามธรรมชาติเป็นจำนวนมากถึง 1 ล้าน คนต่อปี สร้างรายได้สูงถึง 480 ล้านยูโร แรงดึงดูดหลักน่าจะมาจากทัศนียภาพที่เป็นเกาะแก่ง และท้องทะเลอันสวยงาม โดยกองถ่ายภาพยนตร์ เจมส์บอนด์ ตอน Casino Royale ก็เคยมาถ่ายทำที่นี่แล้ว
ประจำงวดวันที่ 2010-03-16
รางวัลที่ 1
364222
ข้างเคียงรางวัลที่ 1
364223 364221
รางวัลที่ 2
772996 787267 471341 496778 161324
รางวัลที่ 3
758127 690308 332371 418005 198653 902436 158648 858556 752066 095975
รางวัลที่ 4
501772 010838 498028 721750 459138 041069 070057 150617 070903 102555 627443 736879 087444 103568 542435 037672 171070 817233 017473 036124 994063 224947 056994 024518 864302 406716 263071 358956 369886 673131 978363 449595 138460 263689 075322 733513 303404 139126 763122 808072 742671 139965 859178 498497 524607 379664 892997 771011 875339 693206
รางวัลที่ 5
942825 847664 090406 626645 851778 843459 501342 231739 843143 089962 849102 011884 599795 878959 224373 279617 271259 219150 178561 288082 399045 190529 561918 776456 319925 955536 983540 021311 057333 238548 458002 075504 698129 451413 737280 775796 940622 403753 174150 289045 056895 063759 392431 927895 590698 251670 288154 773013 988635 447339 556530 867399 718206 717784 446475 716975 808209 967033 053103 692235 305973 129814 669260 473616 808763 064119 796675 306237 986381 338212 295471 091770 485380 211846 943692 202708 437626 539969 473421 232021 848911 875665 246059 387118 057874 477249 024217 679148 772658 298392 439501 675527 417811 466041 663892 312196 242618 933233 441898 525814
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว
619 996 229 756
รางวัลเลขท้าย 2 ตัว
97
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยทหารสืบเนื่องมาแต่โบราณ เดิมคือผู้มีหน้าที่รักษาการณ์ในวัง รัชกาลที่ 4 ให้ฝึกวิชาทหารเพื่อที่จะทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และตั้งเป็นกองทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง หรือกองทหารล้อมวัง เครื่องแบบเต็มยศสีน้ำเงินก็น่าจะมาจากสีของเครื่องแบบกรมวัง , ฝ่ายรักษาวัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งสถาปนาเป็นสยามมกุฏราชกุมาร เป็นพันเอกพิเศษ ของกรมทหารล้อมวังนี้ ซึ่งทำให้หน่วย ร.11 รอ. มีความผูกพันกับรัชกาลที่ 6
ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงขึ้นครองราชย์ฯ ก็ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งสีประจำพระองค์คือสีน้ำเงิน ปัจจุบัน ร.11 รอ.ก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์ในสายรัชกาลที่ 6 เช่นเข้าเฝ้าสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ ในเวลาอันควร
ประวัติหน่วย
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้ง กรมทหารราบที่ 2 ล้อมวังขึ้น มีหน้าที่รักษาการณ์ในเขตพระราชฐานชั้นนอก โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษและทรงพระยศเป็นพันเอกพิเศษของกรมนี้
- พ.ศ. 2451 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนชื่อ กรมทหารราบที่ 2 ล้อมวัง เป็น กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2470 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้ถูกแปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2475 ได้ถูกยุบหน่วย ยังผลให้ กองพันที่ 1, กองพันที่ 2, และกองพันที่ 3 ต้องแปรสภาพเป็นกองพันทหารบกราบที่ 4 (ร.พัน.4) กองพันทหารบกราบที่ 5 (ร.พัน.5) กองพันทหารบกราบที่ 6 (ร.พัน.6) ตามลำดับ
- พ.ศ. 2485 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพบก ได้จัดตั้งกรมทหารราบที่ 2 ขึ้นอีก โดยรับกำลังจากกองพันทหารราบที่ 2 (ร.พัน.2), กองพันทหารราบที่ 7 (ร.พัน.7) และกองพันทหารราบที่ 45 (ร.พัน.45) ส่วนกองบังคับการกรม ได้จัดตั้งขึ้นที่กองพันทหารราบที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลบางซื่อ จังหวัดพระนคร
- พ.ศ. 2488 กองทัพบกได้แปรสภาพ กรมทหารราบที่ 2 เป็น กรมทหารราบที่ 11 และมียอดกำลัง คือ กองพันที่ 1 (ร.พัน.2) กองพันที่ 2 (ร.พัน.7) กองพันที่ 3 (ร.พัน.45) และ กองพันที่ 4 (ร.พัน.37)
- พ.ศ. 2492 ในระหว่างที่ พันเอกถนอม กิตติขจร เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ด้วยความจงรักภักดีแด่พระมหากษัตริย์และด้วยความวิริยะเพื่อที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารราบที่ 11 จึงได้เป็นหน่วยรักษาพระองค์เช่นเดิม
- พ.ศ. 2498 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้ย้ายจากบางซื่อมาตั้งอยู่ ณ กิโลเมตรที่ 17 ถนนพหลโยธินฝั่งตะวันออก ตำบลอนุสาวรีย์ อำเภอบางเขน ในการเข้าที่ตั้งแห่งใหม่นี้กำลังพลทั้งสิ้นตั้งแต่ ผู้บังคับการกรม (พันเอกประยูร หนุนภักดี) ลงไปจนถึงพลทหาร ได้พร้อมใจกันเดินด้วยเท้าในการเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ กองพันที่ 1 (ร.11 พัน.1 รอ.) และ กองพันที่ 2 (ร.11 พัน.2 รอ.) ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณเดียวกันกับกองบังคับการกรม ส่วนกองพันที่ 3 (ร.11 พัน.3 รอ.) และกองพันที่ 4 (ร.11 พัน.4 รอ.) ได้เข้าที่ตั้ง ณ จังหวัดเพชรบุรี ต่อมากองทัพบกได้แปรสภาพกองพันที่ 4 (ร.11 พัน.4 รอ.) เป็นกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2500
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตั้งอยู่ ณ กิโลเมตรที่ 17 ถนนพหลโยธินฝั่งตะวันออก แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยกองพันทหารราบที่ 1 (ร.11 พัน.1 รอ.) และกองพันทหารราบที่ 2 (ร.11 พัน.2 รอ.) ตั้งอยู่ ณ บริเวณเดียวกันกับกองบังคับการกรม ส่วนกองพันทหารราบที่ 3 (ร.11 พัน.3 รอ.) ตั้งอยู่ ณ จังหวัดเพชรบุรี
เกียรติประวัติ
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้เคยสร้างเกียรติประวัติอย่างสูงส่งไว้แก่หน่วย จนเป็นที่เชื่อถือของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น นอกจากนี้แล้ว ยังได้สร้างความอบอุ่น ความเชื่อถือแก่ประชาชนชาวไทยตลอดมา ซึ่งเป็นเกียรติประวัติครั้งสำคัญในอดีตที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
- พ.ศ. 2476 เข้าร่วมปราบปรามกบฎพระองค์เจ้าบวรเดช ฯ
- พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2485 เข้าร่วมทำการรบในกรณีพิพาทอินโดจีน
- พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2488 เข้าร่วมทำการรบในสงครามมหาเอเซียบูรพา
- พ.ศ. 2492 ได้ปราบปรามคณะก่อการจราจลกบฎวังหลวงเป็นผลสำเร็จ
- พ.ศ. 2494 ได้ปราบปรามกบฎแมนฮัตตัน "คณะกู้ชาติ" เป็นผลสำเร็จ
- พ.ศ. 2512 ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผกค. ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย ในยุทธการภูขวาง โดยมี พันเอกยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค เป็นผู้บังคับการกรม และพันโทนิยม ศันสนาคม เป็นผู้บังกองพันเฉพาะกิจ
- พ.ศ. 2515 นำกำลังเข้าปราบปราม ผกค. ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย โดยมี พันเอกณรงค์ กิตติขจร เป็นผู้บังคับการกรม พันโทธีรวัฒน์ เอมะสุวรรณ, พันโทนิยม ศันสนาคม และพันโทธนิต ทรรพนันทน์ เป็นผู้บังกองพันที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ
- พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2520 จัดกำลัง ร.11 พัน.3 รอ. และจาก ร.11 พัน.2 รอ. สนับสนุน ทภ.4 ปราบปราม ขบวนการก่อการร้ายภาคใต้ในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี พันโทเผด็จ วัฒนะภูติ เป็นผู้บังคับกองพัน
- พ.ศ. 2522 จัดกำลัง ร.11 พัน.1 รอ. สนับสนุน ทภ.1 ในการป้องกันประเทศชายแดนด้านทิศตะวันออกของจังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พันโทศักดิ์ศรี แข็งแรง เป็นผู้บังคับกองพัน
- พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2524 จัดกำลัง ร.11 รอ. ทั้ง 3 กองพัน. สนับสนุนราชการตามแผนป้องกันประเทศตามแนวชายแดน อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พันเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี เป็นผู้บังคับการกรม
- พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2530 จัดกำลัง ร.11 พัน.3 รอ. สนับสนุน ทภ.1 ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามแผนป้องกันประเทศตามแนวชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันอำเถออรัญประเทศอยู่ในเขตจังหวัดสระแก้ว) โดยมี พันโทรณยุทธ ฤทธิฦๅชัย เป็นผู้บังคับกองพัน
- พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 จัดกำลัง ฉก.ร.11 รอ. สนับสนุน ทภ.1 ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามแผนป้องกันประเทศตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี พันเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นผู้บังคับ ฉก.ร.11 รอ.
ภารกิจปกติ
- การถวายอารักขาและความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งการยกย่องและเทิดเกียรติในทุกโอกาส
- การรักษาความสงบภายใน ป้องกันและปราบปรามการก่อการไม่สงบ ระวังป้องกันที่ตั้งและบุคคลสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบใจกลางกรุงเทพมหานคร
- การป้องกันประเทศจากการรุกรานภายนอกบริเวณแนวชายแดนไทย
- การปฏิบัติการจิตวิทยาและการช่วยเหลือประชาชน เสริมสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างทหารกับประชาชน
บทความจากโอเคเนชั่นบล๊อก ผู้เขียนคือ คุณ เณรรูน www.oknation.net/blog/singslatan
เมื่อเวลาประมาณ 13.40 น. วันนี้(12 มีค 53) ป๋าโด่ง ได้รับโทรศัพท์จาก
ร.ต.ท.ธาม ลอยสะเทื้อน รอง สวป.สภ.บันนังสตา ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ
"ป๋าโด่ง" โดยเสียงที่ปลายสายพูดด้วยความตกใจ
"พี่ๆๆ รถของ ผู้กำกับ โดน ว.19 ผมกำลังเข้าไปช่วย ที่บ้านทับช้าง...."
หมวดธาม บอกกับผมเช่นนั้น ก็วางสายไป
"ป๋าโด่ง" หลังจากได้รับทราบข่าวเช่นนั้น ก็รีบแจ้งทีมงานข่าวในพื้นที่
เดินทางเข้าไปที่ เกิดเหตุทันที
ในขณะที่กำลังขับรถถึง อ.กรงปินัง หมวดธาม ก็โทรเข้ามาอีกครั้ง
"พี่ๆ ผู้กำกับอาการหนักมากครับ ผมว่าคงไม่ไหวแน่ๆ"
"ตอนนี้ผมกำลังพาผู้ กำกับไปส่งโรงพยาบาลครับ"
"................................................................."
!!!! """"""""""" !!!!
"หมวด ธาม ใจเย็นๆ ผมกำลังเข้าไปครับ"
ผมพูดกับหมวดธาม ไปอย่างนั้น...
แต่ในใจหลังจากรับ รู้....มันรู้สึกไม่ดีเลยครับ
ภาวนาในใจว่า...ขอให้ท่านปลอดภัยๆๆๆ
ไม่นานครับ...ป๋า โด่ง ก็เดินทางไปถึงจุดเกิดเหตุ
จุดที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากถนนสาย 410 เข้าไปมากกว่า 14 กม.
เส้นทางคดเคี้ยว....ข้างทางเป็นป่าเข้า
บอกตรงๆครับ...ผม รู้สึกกลัว!!!
ในที่ เกิดเหตุ ก็พบรถยนต์กระบะวีโก้ สีบรอนซ์ทอง กข 9302 ยะลา
ซึ่งเป็นรถประจำ ตำแหน่งของ "พ.ต.อ.สมเพียร" ผกก.สภ.บันนังสตา
สภาพก็อย่างที่เห็นครับ
"ยับเยิน"
หลุม... ที่เกิดจากแรงระเบิดกว้างประมาณ 2 เมตร
ลึก 1 เมตร โดยพบเศษถังดับเพลิง ที่คงจะใช้บรรจุระเบิด
น้ำหนักคงไม่ต่ำกว่า 15 กก.
จุดชนวนด้วยแบตเตอรี่
สภาพรถ ........
ก่อน หน้าที่ ป๋าโด่ง จะเข้าไปยังที่เกิดเหตุ
ก็ไปรอถ่ายภาพอยู่ที่สนามหน้าโรงเรียนบัน นังสตาวิทยา
อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็นที่เฮลิคอปเตอร์
บินมารอรับ "พ.ต.อ.สมเพียร" เพื่อนำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
พล.ต.ต .สายัณห์ กระแสแสน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา
เข็นรถเข็นนำร่าง พ.ต.อ.สมเพียร ลงจากรถฉุกเฉิน ไปขึ้นเฮลิคอปเตอร์
แพทย์ ที่เดินทางมาด้วย ต้องปั้มหัวใจตลอดเวลา
กว่า ที่จะนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ขึ้นได้ ก็ต้องปั้มหัวใจกันอยู่ครู่หนึ่ง
นำขึ้น เฮลิคอปเตอร์...เตรียมนำส่งไปยัง รพ.ศูนย์ยะลา
ใช้เวลาบิน...จากจุด นี้ไม่เกิน 10 นาที
ก็ไปถึงยะลา
http://www.oknation.net/blog/singslatan/2010/03/12/entry-1
ดูภาพ ได้ที่บล๊อก "เณรรูน" ครับ
หลังจากที่ "ป๋าโด่ง" เดินทางกลับมาถึง ยะลา
ก็ทราบว่า "พี่เพียร" พ.ต.อ.สมเพียร เสียชีวิตแล้ว
"......................................."
"............................................................."
"เณรรู ณ" ซึ่งสนิทสนมกับ "พี่เพียร" เดินทางมาดูศพขณะที่กำลัง
ตกแต่ง......
แพทย์บอกว่า.."พ.ต.อ.สมเพียร" เสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือดมาก
หลังจากถูกระเบิด ได้รับบาดเจ็บที่ขา และเลือดออกมาก
รวมทั้งมีประวัติเป็นโรคหัวใจ....อยู่ด้วย
ท่าน ก็จากเราไป.....จริงๆ
เสียใจครับ......ป๋าโด่ง...เสียใจจริงๆ
วันนี้เป็นวันที่ทำ ข่าวแล้ว ไม่สามารถถ่ายภาพได้เลย
เพราะว่า คนที่อยู่ในกล้องของป๋าโด่ง...ตรงหน้านั้นคือ
"พี่เนี๊ยบ" หรือ "พี่เพียร"
ผู้กำกับที่แสนดี ...ของน้องๆสื่อมวลชนในพื้นที่
......................................
หลับให้สบายนะครับ พี่....
ผม ขออนุญาตคัดลอกบทความนี้จาก โอเคเนชั่นบล๊อก ผู้เขียนคือ คุณ เณรรูน ที่เขียนสดุดีวีรกรรมของท่านเอาไว้อย่างน่าชื่นชม http://www.oknation.net/blog/singslatan
""" แววตาที่ยังมุ่งมั่นในวัย 57 ปี """
... จากปฏิบัติการณ์บุกโจมตีแบบสายฟ้าแลบ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ฯ บริเวณทางเข้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการใช้ "แก๊สน้ำตา" ต่อผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ..
... สร้าง"ตราบาป" ให้กับวงการตำรวจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายฝ่ายได้ออกมา "ประนาม" การกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุในครั้งนี้ แม้ทางเจ้าหน้าที่จะออกมาอ้างเหตุผลต่างๆนานา เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง แต่ ก็ไม่สามารถลบภาพการกระทำอันเลวร้าย ในเหตุการณ์ " 7 ตุลาทมิฬ" ได้ ที่ทำให้ " ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" กลายมาเป็น " ผู้พิฆาตประชาชน " ...
... สงสารและเห็นใจตำรวจน้ำดีอีกจำนวนมาก ที่ตั้งใจทำงานอุทิศกายและใจ เพื่อความสงบสุขของประชาชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ชื่อเสียงพลอยมัวหมองจากการกระทำของคนสีเดียวกัน..
""" พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.กระดูกเหล็ก แห่ง สภ.บันนังสตา ยะลา หรือ " จ่าเพียรมือปราบ " ..ในอดีต ..
... สิ่งที่จะได้นำมาเสนอในครั้งนี้ ไม่ใช่จะมาช่วยกู้ภาพลักษณ์ให้กับวงการตำรวจ "แต่อยาก" นำแบบอย่างของ "ตำรวจดี " นายหนึ่งที่ตลอดทั้งชีวิต ในเครื่องแบบสีกากี ตั้งแต่ เป็น " พลตำรวจ " จนถึงปัจจุบัน " พันตำรวจเอก " กว่า30 ปี ที่เขาทำงานคลุกคลีอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านการปะทะกับกลุ่มก่อความไม่สงบมานับร้อยครั้ง ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ หลายต่อหลายหนจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ปัจจุบัน นายตำรวจผู้นี้ดำรงตำแหน่ง " ผู้กำกับการตำรวจภูธร สภ.บันนังสตา จ.ยะลา " ...
... ใช่แล้ว เขาคือ " พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา " ผู้กำกับฯ " กระดูกเหล็ก " แห่งวงการตำรวจชายแดนใต้ ที่ชื่อเป็นที่ครั่นคร้ามของกลุ่มแนวร่วมฯ ในนามของ " จ่าเพียรมือปราบ " ฉายาที่ติดตัวมาตั้งแต่เป็นตำรวจชั้นประทวน ..
... ตั้งแต่ปี 2513 หลังจบการศึกษา โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา พลฯสมเพียร เอกสมญา ถูกส่งเข้าเป็นตำรวจประจำ สภอ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งในขณะนั้น พื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตเคลื่อนไหวของขบวนการโจรก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน อย่างหนักทำให้ภาครัฐต้องระดมสรรพกำลัง ทั้งทหาร ตำรวจ และ ฝ่ายปกครอง เข้าไปแย่งชิงมวลชน และดูแลความสงบเรียบร้อย หลายครั้งที่เกิดการปะทะ ทำให้มีการสูญเสียอย่างหนักทั้งสองฝ่าย และ ปฐมบทแห่งการเป็น จ่าเพียรมือปราบ ก็เกิดขึ้นที่นั่น ...
"""" ผู้ฝากผลงาน ด้านการสืบสวน ปราบปราม สู้กับ โจรก่อการร้าย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มากว่า 30 ปี """
... จากชีวิตตำรวจที่คลุกคลีอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด เขาได้สร้างผลงานด้านการปราบปราม ต่อสู้กับโจรก่อการร้ายอย่างห้าวหาญ สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ของผู้บังคับบัญชา ทำให้กรมตำรวจ (ในขณะนั้น) ได้อนุมัติให้เข้ารับการ อบรมหลักสูตร " นายตำรวจสัญญาบัตร " โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก และได้รับการเลื่อนลำดับขั้น จากผงพวงการทำงานอย่างหนักมาโดยตลอด ...
""" เมื่อครั้งนำกำลังเจ้าหน้าที่ เข้าช่วยเหลือ นักบินและช่างเครื่อง ที่รอดชีวิต จากเหตุเฮลิคอปเตอร์ ตำรวจ ตก ที่เขื่อนบางลางเมื่อปลายปี 50 """
... และหากนับผลการปฏิบัติราชการตรวจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ ปี 2513 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เป็น " พลตำรวจ" จนถึงยศ "พันตำรวจเอก " เขาได้เข้าทำการปะทะต่อสู้กับโจรก่อการร้าย โจรจีนคอมมิวนิสต์ มาแล้วนับ 100 ครั้ง สามารถสังหารฝ่ายตรงข้าม ยึดอาวุธปืน และที่พักเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลในการนำกำลังเข้าปะทะกับโจรก่อการร้ายดังกล่าว ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บทั้งเล็กน้อยและสาหัส จำนวน 8 ครั้ง เช่นในปี 2519 ได้ยิงปะทะกับกลุ่มโจรก่อการร้าย กลุ่มนายลาเตะ เจาะปันตัง ที่จับกุมตัวตำรวจและครอบครัวไปเรียกค่าไถ่ ที่เทือกเขาเจาะปันตัง อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผลการปะทะทำให้ เขา ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณขาซ้าย หน้าอกได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกส่งรักษาตัว รพ.ศูนย์ยะลา และจากการปะทะในครั้งนี้ทำให้ขาข้างซ้ายแทบพิการ ..
""" ไม่ทิ้งงานมวลชน ในพื้นที่ """
... และปี 2526 ได้ยิงปะทะกับกลุ่มโจรก่อการร้าย กลุ่มนายคอเดร์ แกแตะ กับพวกประมาณ 30 คน ที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ทำให้ได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ต้นขาขวากระสุนฝังใน ...
... เป็นต้น ..
... จากความทุ่มเท มุ่งมั่น ทำงานอย่างหนักในพื้นที่ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ มวลชนให้ความยอมรับให้ความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ " ฝ่ายตรงข้ามเกรงกลัว " จนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง ในปี 2550 เขาได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง " ผู้กำกับการตำรวจภูธร สภ.บันนังสตา จ.ยะลา แห่งเดียวกับที่เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อยังเป็นตำรวจชั้นประทวน ...
""" เครื่องแบบนายตำรวจ น้อยครั้งที่จะนำมาสวมใส่ เนื่องจากต้องการทำตัวให้ใกล้ชิด และ เข้าถึงชุมชนให้มากที่สุด """
... พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา กลับสู่บันนังสตา ในขณะแผ่นดินกำลังลุกเป็นไฟ กลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ สามารถจัดตั้งแนวร่วมฯ และกองกำลังรบขนาดเล็ก ( RKK) เพื่อใช้ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ ให้ได้รับความสูญเสียเป็นจำนวนมาก โชคดีที่ พ.ต.อ.สมเพียร เคยทำงานอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน แม้รูปแบบการก่อความไม่สงบของกลุ่มคนร้ายได้ปรับเปลี่ยนไปจาก เมื่อ เกือบ 30 ปี ที่แล้วมาก แต่อาศัยเป็นผู้ชำนาญในพื้นที่มาก่อน และมีแหล่งข่าวเก่าที่เคยทำงานร่วมกันในอดีต จึงไม่เกินความสามารถที่จะที่จะสืบเสาะหาแหล่งกบดาน และติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ และหลังจากเขาเข้ามารับตำแหน่ง ผกก.สภ.บันนังสตาได้ไม่นาน วันที่ 1 สค.50 ได้ นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดเข้าปิดล้อมตรวจค้น และยิงปะทะกับกลุ่มโจรก่อการร้ายที่บ้านเตี๊ยะ หมู่ 5 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา กลุ่มนายสุริมิง เปาะสา ที่ก่อเหตุร้ายในพื้นที่หลายครั้ง ผลการปะทะ ทำให้กลุ่มคนร้ายเสียชีวิต 6 ราย สามารถยึดอาวุธปืนสงครามและยุทธภัณฑ์ได้เป็นจำนวนมาก ...
... นอกจากนี้ยังได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และพลเรือน เข้าปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายอีกหลายครั้ง สามารถจับกุม สร้างความสูญเสียให้กับกลุ่มคนร้าย และทำลายฐานที่มั่น ได้หลายแห่ง จนขบวนการกลุ่มก่อความไม่สงบ รวมตัวกันไม่ติด หนีหลบซ่อนออกนอกพื้นที่และบริเวณป่าเขา ทำให้เหตุร้ายใน พื้นที่ อ.บันนังสตา เบาบางลงมาก ...
... แม้ พ.ต.อ.สมเพียร จะมีความสามารถในงาน สืบสวน ปราบปราม แต่ งานมวลชน เขาก็ไม่ได้ละทิ้ง ยังคงติดต่อฟื้นสายสัมพันธ์เก่า กับประชาชนทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่ ที่เคยทำงานร่วมกันมาเมื่อครั้งอดีต ด้วยใจถึงใจ ต่อกัน มีกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจและความรู้สึกอันดีกับชุมชน เขาไม่เคยที่จะปฏิเสธในการเข้าไปมีส่วนร่วม แม้จะรู้ว่ามีอันตรายแฝงอยู่ในทุกย่างก้าว ...
""" เป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา """
... ผลจากการทำงานทุ่มเทมาตลอดชีวิตข้าราชการตำรวจ ทำให้ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ได้รับการยกย่อง และประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆเป็นจำนวนมาก และ ที่สร้างความปลาบปลื้ม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดในชีวิต และครอบครัว คือ ได้รับการโปรดเกล้า ฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระราชทาน " เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญมาลาเข็มกล้ากลางสมร " ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และกระทำพิธี " ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา " ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2525 ...
"""" ภาระกิจในพื้นที่ บันนังสตา ต้องรวมใจเป็นหนึ่งเดียว """
... และนับเป็น ตำรวจเพียงคนเดียว ในขณะมียศแค่ " จ่าสิบตำรวจ " ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ ...
... นอกจากนี้ พ.ต.อ.สมเพียร ยังได้รับพระราชทาน และประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆอีกมากมาย เช่น ..
1.ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นสอง ประเภทหนึ่ง
2.ได้รับประกาศนียบัตร " ผู้มีผลงานสู้รบดีเด่น " จากกระทรวงมหาดไทย
3.ได้รับเข็มรักษาดินแดนสดุดี จากกระทรวงมหาดไทย
4.ได้รับมอบเกียรติบัตรผู้ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติด้วยความเสียสละ จากองค์การทหารผ่านศึก
5.ไดัรับประกาศผู้มีผลงานดีเด่นด้านการปราบปราม จากกองบัญชาการตำรวจภูธร 9
6.ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่า โรงเรียนตำรวจภูธร 9 ดีเด่น
7.ได้รับหนังสือสำคัญ จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต ) ยกย่องเชิดชู เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน และรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง ด้วยความเข้มแข็งเสียสละ
8 .ฯลฯ ...
""" และล่าสุด หลังจากรับตำแหน่ง ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ตั้งแต่ปี 2550 เป็นตันมา พ.ต.อ.สมเพียร ได้นำกำลังเข้าปิดล้อม ตรวจค้น และได้มีการปะทะยิงต่อสู้กับแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ (RKK) มาแล้วจำนวน 7 ครั้ง ทำให้คนร้ายเสียชีวิต จำนวน 17 คน สามารถยึดอาวุธสงครามและยุทธภัณฑ์ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็น " ผู้นำหน่วยยอดเยี่ยม " จากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติ ส่วนหน้า ( ศปก.ตร.สน ) ...
........... นี่คือเรื่องราวเพียงเศษเสี้ยวของชีวิต ตำรวจนายหนึ่ง ที่ทำงานทุ่มเท เพื่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน เช่นเดียวกับตำรวจน้ำดีในพื้นที่อีกหลายคน พวกเขาเสมือนผู้ปิดทองหลังพระ ภายใต้เครื่องแบบสีกากี ที่เขาแสนภาคภูมิใจ แม้จะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และ เสี่ยงต่ออันตรายแค่ไหน แต่เขาไม่เคยย่อท้อ แม้อายุราชการ ของ พ.ต.อ.สมเพียร จะเหลืออีกไม่กี่ปี แต่เขายืนยัน ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด สมดั่งปรัชญา " ตำรวจคือ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ " ...
ขสมก. ปรับแผนเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ เลี่ยงสถานที่ชุมนุม หวั่นเหตุการณ์ซ้ำรอย
นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขสมก.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกรณีมีการชุมนุมปิดถนน โดยจัดแผนปรับเปลี่ยนการเดินรถ ในเส้นทางที่อาจมีผลกระทบต่อการเดินทางสัญจรไปมาของประชาชนผู้ใช้บริการ อาทิ ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนราชดำเนินใน ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ถนนพิษณุโลก ถนนกรุงเกษม ถนนศรีอยุธยา และถนนบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. เส้นทางเดินรถจากถนนพหลโยธิน คือ สาย 26, 29, 34, 39, 54, 59, 63, 74, 97, 204, 502, 503, 510
- เส้นทางที่เดินรถจากห้าแยกลาดพร้าว ให้ตัดกลับแยกประดิพัทธ์(สะพานควาย) โดยแยกซ้ายเข้าถนนอินทามระ ออกถนนวิภาวดีรังสิต หรือแยกขวาถนนประดิพัทธ์ แยกขวาถนนพระราม 6 วนกลับเส้นทางเดิม
- เส้นทางเดินรถเลยแยกประดิพัทธ์ ให้ตัดเลี้ยวซ้ายถนนตัดใหม่ ออกถนนวิภาวดีรังสิต วนกลับเส้นทางเดิม
- กรณีเดินรถเลยทั้ง 2 จุด ให้ตัดกลับเลี้ยวซ้ายแยกใต้ทางด่วนใกล้อนุสาวรีย์ชัยฯ ออกถนนวิภาวดีรังสิต กลับเส้นทางเดิม
2. เส้นทางที่มาจากถนนราชวิถี และถนนพระราม 6 คือ สาย 12, 18, 97, 166, 509, 515, 522
- กรณีวิ่งมาจากถนนพระราม 6 เช่น สาย 166 และสาย 522 ให้ตัดแยกขวาเข้าถนนราชวิถี แยกซ้ายถนนสวรรคโลก แยกซ้ายถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายถนนพระราม 6 กลับเส้นทางเดิม
- กรณีวิ่งมาจากถนนราชวิถี ให้ตัดกลับแยกซ้าย หรือแยกขวาที่แยกตึกชัย วนกลับเส้นทางเดิม
3. เส้นทางที่มาจากถนนราชวิถี จากสามเหลี่ยมดินแดง คือ สาย 12, 13, 36, 54, 73, 168, 551
- กรณีวิ่งจากถนนอโศกดินแดง ให้ตัดกลับสามเหลี่ยมดินแดง วนกลับเส้นทางเดิม
- กรณีวิ่งจากถนนวิภาวดีรังสิต ให้ตัดกลับใต้ทางด่วนดินแดง กลับเข้าเส้นทางเดิม
4. เส้นทางจากถนนพญาไท คือ สาย 72, 74, 204, 536
- กรณีวิ่งมาจากถนนพญาไท ให้แยกซ้ายถนนโยธี ออกถนนพระราม 6 วนกลับเส้นทางเดิม
- กรณีวิ่งมาจากถนนศรีอยุธยา แยกขวาถนนพญาไท เข้าอนุสาวรีย์ชัยฯ ให้แยกซ้ายตัดกลับเส้นทางเดิม หรือวิ่งตรงไปเพื่อตัดเข้าเส้นทางเดิม
ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการ สอบถามเส้นทางรถเมล์ หรือแนะนำบริการได้ที่ศูนย์ Call Center หมายเลข 184 ตลอด 24 ชม. ระหว่างวันที่ 12 -14 มี.ค. 2553 หลังจากนั้นให้บริการตามปกติ ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น.
**************************************
สรุปเส้นทางเลี่ยงพื้นที่การชุมนุมระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค. หรือจนกว่าม็อบจะยุติ รวมทั้งสิ้น 7 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน ดังนี้
1.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
จะปิดการจราจรบนถนนมิตรไมตรีทั้งสาย เส้นทางเลี่ยงสามารถใช้ได้ทุกถนนโดยรอบ โดยมีจุดจอดรถที่บริเวณสนามกีฬากองทัพบก
2.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณหน้า สน.ทุ่งสองห้อง
ปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 6 ปากซอยวิภาวดีฯ 25 เส้นทางเลี่ยงให้กลับรถถนนกำแพงเพชร 6 ขาเข้าไปแยกบางเขน
ปิดการจราจรวงเวียนสนามกอล์ฟนอร์ธปาร์ค เส้นทางเลี่ยงให้กลับรถออกทางซอยชินเขตซอย 1 ซอย 2 หรือ ซอย 3
ปิด การจราจรเลี้ยวซ้ายจากถนนวิภาวดีฯเข้านอร์ธปาร์ค และปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 6 หน้าลานจอดรถสำรองโรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เส้นทางเลี่ยงให้กลับรถใช้กำแพงเพชรขาออกไปแยกหลักสี่
ปิดถนนวิภาวดีฯขาออกบริเวณหน้า สน.ทุ่งสองห้อง เส้นทางเลี่ยงใช้ถนนกำแพงเพชร 6
3.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่
ผู้ที่จะใช้ถนนพหลโยธินขาเข้า ให้ใช้ช่องทางพลาธิการ ทอ. ออกถนนวิภาวดีรังสิต
ผู้ที่จะใช้ถนนรามอินทราขาเข้า ให้ใช้ถนนลาดปลาเค้าออกถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ผู้ที่จะใช้ถนนพหลโยธินขาออก ให้ใช้เส้นทางยูเทิร์นหน้า ร.11 เลี้ยวซ้ายลงอุโมงค์ ร.11 ออกลาดปลาเค้า หรือใช้เส้นทางงามวงศ์วาน
ผู้ที่จะใช้ถนนแจ้งวัฒนะขาเข้า ให้ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต
4.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณแยกบางนา
ถนน ที่ปิดการจราจร คือ ถนนสุขุมวิทด้านขาเข้า ปิดบริเวณแยกแบริ่ง ถนนสุขุมวิทด้านขาออก ปิดบริเวณแยกอุดมสุข ถนนบางนา-ตราด ปิดบริเวณทางยกระดับข้ามแยกบางนา หน้าศูนย์ฯไบเทค และถนนสรรพาวุธ ปิดบริเวณทางขึ้นทางด่วนบางนาด้านถนนสรรพาวุธ
ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ดังนี้
ถนน สุขุมวิท ด้านขาเข้าจากแยกเทพารักษ์มุ่งหน้าแยกบางนา ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนแบริ่ง (สุขุมวิท 107) ไปถนนศรีนครินทร์ ถนนลาซาล และถนนบางนา-ตราด
ถนนสุขุมวิท ด้านขาออกจากแยกสุขุมวิท 62 มุ่งหน้าแยกบางนา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอุดมสุข (สุขุมวิท 103) ไปถนนศรีนครินทร์ ถนนบางนา-ตราด ถนนเฉลิมพระเกียรติ
ถนนบางนา ให้ขึ้นสะพานยกระดับข้ามแยกบางนา ไปถนนสุขุมวิทขาเข้า ถนนอุดมสุข ขึ้นทางด่วนมหานคร เบี่ยงไปถนนสรรพาวุธก่อนเข้าด่านเก็บเงิน
ถนน สรรพาวุธ ให้เลี้ยวกลับรถไปใช้ถนนริมทางรถไฟสายเก่า ขาเข้าไปถนนพระราม 4 หรือเลี้ยวซ้ายไปถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไปถนนสุขุมวิท ไปถนนศรีนครินทร์
5.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณสวนลุมพินี
ปิด ถนนบริเวณทางเข้าสวนลุมพินีฝั่งตรงข้ามสน.ลุมพินี ให้จัดการจราจรโดยใช้เส้นทางเลี่ยงถนนวิทยุฝั่งหน้าสน.ลุมพินี ถนนพระราม 4 ถนนสารสิน และถนนราชดำริ
6.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณรอบวงเวียนใหญ่ ต้องปิดการจราจรถนนดังต่อไปนี้
ถนนตากสิน ตั้งแต่แยกตากสินถึงวงเวียนใหญ่
ถนนอินทรพิทักษ์ ตั้งแต่สามแยกบางยี่เรือถึงวงเวียนใหญ่
ถนนประชาธิปก ตั้งแต่แยกบ้านแขกถึงวงเวียนใหญ่
ถนนลาดหญ้า ตั้งแต่ซอยลาดหญ้า 12 ถึงวงเวียนใหญ่
6.1 กรณีผู้ใช้รถใช้ถนนจากฝั่งพระนครมุ่งหน้าฝั่งธนบุรี
(1) รถที่ใช้สะพานพุทธฯ และสะพานพระปกเกล้า ให้ใช้เส้นทางเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนเจริญนคร เลี้ยวขวาออกถนนตากสิน และมุ่งหน้าถนนสุขสวัสดิ์ได้
(2) ใช้ถนนประชาธิปกเลี้ยวซ้ายออกถนนอิสรภาพใหม่ ไปสามเหลี่ยมลาดหญ้าออกถนนเจริญนคร
(3) ใช้ถนนประชาธิปกเลี้ยวขวาออกถนนอิสรภาพเก่า มุ่งหน้าโพธิ์สามต้น และใช้เส้นทางลัดซอยวัดสังข์กระจาย ออกถนนเพชรเกษม
(4) ใช้ถนนประชาธิปกกลับรถแยกบ้านแขกเลี้ยวซ้ายเข้าถนนอรุณอมรินทร์ มุ่งหน้าแยกศิริราช ออกถนนจรัญสนิทวงศ์ได้
6.2 กรณีผู้ใช้รถใช้ถนนจากฝั่งธนบุรีมุ่งหน้าฝั่งพระนคร
6.2.1 ใช้สะพานตากสิน
(1) รถที่มาจากถนนตากสินจะเข้าวงเวียนใหญ่ให้เลี้ยวขวาถนนกรุงธนบุรี ข้ามสะพานตากสินมุ่งหน้าฝั่งพระนคร
(2) รถที่มาจากถนนเพชรเกษม อินทรพิทักษ์จะเข้าวงเวียนใหญ่ให้เลี้ยวขวาที่สามแยกบางยี่เรือ ใช้ถนนเทอดไท เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรัชดา ถนนกัลปพฤกษ์ มุ่งหน้าถนนกรุงธนบุรี ข้ามสะพานตากสิน
6.2.2 ใช้สะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า
(1) รถที่มาจากถนนตากสินเลี้ยวขวาเข้าถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายถนนเจริญนครที่แยกเจริญนครมุ่งหน้าแยกคลองสาน ใช้ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เลี้ยวขวาแยกมารยาทดี ขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้าได้
(2) รถที่ใช้ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาธิปกกลับรถแยกบ้านแขกขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้าได้
(3) รถที่มาจากถนนเจริญนคร เข้าสามเหลี่ยมลาดหญ้าใช้ถนนอิสรภาพใหม่มุ่งหน้าแยกบ้านแขกเลี้ยวขวาขึ้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้าได้
(4) รถที่มาจากถนนเพชรเกษมให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัดสังข์กระจาย เลี้ยวขวาเข้าถนนอิสรภาพเลี้ยวซ้ายที่แยกบ้านแขกขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้าและ สะพานพระปกเกล้า
7.กรณีปิดกั้นการจราจรบริเวณถนนราชดำเนินถึงท้องสนามหลวง
จะมีปิดการจราจรถนนโดยรอบสนามหลวงได้แก่ถนนหน้าพระลาน ถนนราชดำเนิน ถนนหน้าพระธาตุ
เพื่อ ไม่ให้เกิดการจราจรติดขัดจนส่งผลกระทบต่อการจราจรโดยรวม แนวคิดหลักของการจัดการจราจร คือ รถทุกคันต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้ามาบริเวณถนนราชดำเนิน
เส้นทางเลี่ยง 5 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางที่ 1 สะพานพระราม 8 ซ้ายถนนประชาธิปไตย ถนนราชสีมา ซ้ายถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน
เส้นทางที่ 2 ลงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ขวาถนนราชินี กลับรถข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เส้นทางที่ 3 ลงด่วนยมราช ถนนพิษณุโลก ขวาถนนพระราม 5 ขวาถนนศรีอยุธยา ขวาถนนกำแพงเพชร 5
เส้นทางที่ 4 ลงด่วนยมราช ถนนหลานหลวง ซ้ายถนนจักรพรรดิพงษ์
เส้นทางที่ 5 ลงด่วนถนนพระราม 6 ขวาถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน