ตัวย่อของ Canon
EF = Electro-Focus เป็นชื่อ เมาท์มาตรฐานของเลนส์ Canon ใช้ได้กับกล้อง EOS ฟิลม์ และดิจิฯ ที่เป็น Full Frame ทุกตัว
EF-S = EF with Short back focus สำหรับกล้องดิจิที่มีตัวคูณ ในระบบ EOS
IS = Image Stabilizer = ระบบกันสั่นเวลาถ่ายภาพ
USM = Ultra Sonic Motor มอเตอร์ focus ความเร็วสูงและเงียบ
FTM = Full time manual focus ในขณะใช้ mode auto focus ก็สามารถใช้ manual focus ได้ทันทีไม่ต้องไปปรับปุ่มเลย ส่วนใหญ่จะคู่กับระบบ USM ครับ
DO = Diffractive Optical คือ ชิ้นเลนส์พิเศษที่ทาง Canon พัฒนาขึ้นมามีลักษณะเป็นวง ๆ ซ้อน ๆ กัน
L = Luxury Grade = ชิ้นเลนส์คุณภาพสูงของ canon เลนส์ทำจาก UD glass (Ultra-low Dispersion)
รหัสที่ตัวเลนส์นะครับ
ตัวอักษรตัวแรกเป็นสถานที่ผลิต (ชื่อเมือง)
U = Utsunomiya, Japan
F = Fukushima, Japan
O = Oita, Japan
ตัวอักษรตัวที่สองเป็นปีที่ผลิต
S = 2004
T = 2005
U = 2006
V = 2007
W = 2008
X = 2009
ตัวย่อของ Nikon
AF = ระบบ Auto Focus
AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor = เลนส์ที่มีมอเตอร์ในตัว ทำให้โฟกัสได้เร็วและเงียบ
DX = ใช้กับฟอร์แมตกล้อง DX หมายถึงกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์เล็กกว่าฟิล์ม
VR = Vibration Reduction = ระบบป้องกันภาพสั่น
G = ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงบนเลนส์ ต้องปรับเปลี่ยนค่ารูรับแสงจากบอดี้ในตัวกล้อง
D = บ่งบอกว่าเป็นเลนส์ที่ใช้ร่วมกับระบบวัดแสง 3 มิติของกล้องรุ่นที่มีระบบวัดแสง 3 มิติ
ED = Extra-low Dispersion = มีชิ้นเลนส์คุณภาพสูงลดความคลาดสี ลดอาการขอบม่วง
DC = Defocus-image Control เป็นเลนส์พิเศษมีแหวนปรับความเบลอของภาพที่อยู่นอกโฟกัส
RD = Rounded Diapharm = เป็นการออกแบบให้รูรับแสงมีรูปทรงใกล้เคียงวงกลมมากขึ้น ส่งผลให้โบเก้หรือรูปทรงของอาการเบลอที่ฉากหลังดูนุ่มนวลไม่กระด้าง
ตัวย่อของ Sigma
DG = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น ใช้กับฟิล์มได้ด้วย
DC = ใช้กับกล้องดิจิตอลที่มี CCD ขนาดเล็กกว่าฟิล์มเท่านั้น ถ้าใช้กับกล้องฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล Full Frame จะติดขอบ
HSM = Hypersonic Motor มอเตอร์ในตัวเลนส์ โฟกัสไวและเงียบ
APO = ชิ้นเลนส์พิเศษลดความคลาดของสี
EX = บ่งบอกถึงว่าเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งโครงสร้างและภาพที่ได้
OS = Optical Stabilizer เป็นระบบกันสั่นของ Sigma ครับ
ตัวย่อของ Tamron
Di = Digitally Integrated Design = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น
Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้
XR = Extra Refractive Index Lens เลนส์เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับแสงเท่าเดิม
LD = Low Dispersion เลนส์ความคลาดแสงต่ำ
SP = Super Performance = เลนส์เกรดโปรของแทมร่อน
VC = Vibration Compensation เป็นระบบกันสั่นของ Tamron ครับ
AD = Anomalous Dispersion = ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกันให้น้อยลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง
HID = High Index High Dispersion = ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน, เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่านเลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์
ZL = Zoom Lock Feature = ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้องพร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
SHM = Super Hybrid Mount = เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับพลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมีน้ำหนักเบา
ส่วนเลนส์ที่มีมอร์เตอร์ รหัส model จะมี NII ต่อท้ายครับ เช่น
SP AF17-50mm Di II (model A16NII)
AF18-200mm Di II (model A14NII)
AF18-250mm Di II (model A18NII)
SP AF28-75mm Di (model A09NII)
AF28-300mm VC Di (model A20Nii)
AF70-300mm Di (model A17NII)
SP AF70-200mm Di (model A001NII)
ตัวย่อของ Pentax
FA = เลนส์สำหรับฟิล์ม แต่สามารถนำมาใช้กับ digital พอได้
DA = เลนส์สำหรับกล้อง Digital เท่านั้น ใช้กับกล้องฟลิม์มไม่ได้
D FA = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งกล้องฟิล์มและกล้อง digital ได้ทั้งคู่
SDM = Supersonic = มีมอเตอร์ในตัวเลนส์จึงช่วยให้การโฟกัสของเลนส์เร็วและเงียบ
AL = Aspherical Lens = ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติม
* = ซีรี่ย์เลนส์ที่ผลิตจากแก้ว โดยผ่านการหลอม และโค้ดอย่างดีเยี่ยม
ตัวย่อของ Sony Konika Minolta
AS = Anti-Shake = ระบบป้องกันภาพสั่น แต่ระบบนี่การทำงานมันจะอยู่ที่ ตัว CCD ไม่ได้ใช้ชิ้นเลนส์ทำงาน
G = เป็นเลน์เกรดโปรของค่าย Sony Konika Minolta
SSM = Super Sonic Motor = เป็นมอเตอร์ที่อยู่ในตัวเลนส์ ช่วยให้โพกัสเร็วและเงียบขึ้น
ตัวย่อของ Tokina
AS = Aspherical Elements
AT-X = Advanced Technology Extra
FC = Focus Clutch
SD = Super Low Dispersion Glass
ตัวย่อมาตรฐานที่พบได้หลายค่าย
IF = Internal Focus คือระบบโฟกัสของเลนส์เป็นแบบเคลื่อนชิ้นเลนส์ภายใน
RF = Rear Focus คือการปรับโฟกัสของเลนส์ด้วยการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ชิ้นหลัง
ED = ED glass (Extra-low Dispersion) นอกจาก Nikon แล้วก็มี Pentax และ Olympus ที่ใช้ ED เช่นกัน
ASP = Aspherical คือชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติมจะพบในการนำเสนอของ Sigma และTamron
APO = Apochromatic คือเลนส์ที่แก้ความคลาดของสี ซึ่งจะพบ APO กับเลนส์ค่าย Sigma และ Sony Konika Minolta
Macro = เลนส์ที่ออกแบบมาให้ถ่ายได้ใกล้วัตถุมากๆเพื่อให้ได้ภาพวัตถุเล็กๆปรากฎเป็นภาพใหญ่ และถูกออกแบบให้แสดงความคมชัด รายละเอียดของภาพมากกว่าเลนส์ปรกติ
Fisheye lens = เลนส์ตาปลา อันนี้ก็เป็นเลนส์มุมกว้าง ที่ไม่แก้ความโค้ง ปล่อยความโค้งเต็มที่ ส่วนใหญ่ก็เอาไว้ถ่ายอะไรที่ต้องการความกว้าง โดยไม่สนความโค้ง หรือเอา effect มาสร้างความแปลกตา
เพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องความคลาดของสีกับความคลาดทรงกลมนะครับ
ความคลาดของสี (chromatic aberration) คือ โดยปกติแล้วเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์
ไปตกกระทบบนระนาบของฟิล์มหรือ CCD ก็จะประกอบไปด้วยแม่สีทั้ง 3 คือ แดง เขียว น้ำเงิน
ซึ่งในเลนส์ธรรมดาทั่วไปแม่สีทั้ง 3 แต่ละสีจะมีจุดโฟกัสบนระนาบไม่เท่ากัน
สีแดงยาวที่สุด ตามมาด้วยเขียวและฟ้า ทีนี้เมื่อแม่สีทั้งสามมีระยะโฟกัสที่ไม่เท่ากัน
เมื่อตกลงบนระนาบของฟิล์มและผสมกันออกมาเป็นสีจึงทำให้ขาดความคมชัด สีสันไม่ถูกต้องตามธรรมชาติ
ตลอดจนความเปรียบต่างไม่ดี ยิ่งเลนส์ทางยาวโฟกัสยิ่งสูงยิ่งมีความคลาดสีสูง
วิธีแก้ คือ ใช้วัสดุพิเศษที่มีความคลาดสีน้อยมากๆ มาทำชิ้นเลนส์ คือพวก UD,ED,LD,APO
ความคลาดทรงกลม (spherical aberration) คือการที่ภาพไม่สมบูรณ์อันเกิดมาจากการหักเหของแสง ที่มากขึ้นตามส่วนโค้งบริเวณขอบของเลนส์
อันจะมีผลต่อความถูกต้องของสีและความคมชัดของภาพ ทั้งนี้เพราะชิ้นเลนส์ทั่วๆไปที่มีความโค้ง เว้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนโค้งของทรงกลมทั้งสิ้น (spherical)
อาจจะเพราะทำง่ายและราคาถูก แต่ก็มีปัญหาคือเกิดความคลาดทรงกลม จากการหักเหของแสงที่มากขึ้นกว่าตรงกลางเลนส์ตามขอบเลนส์
วิธีแก้ คือ ทำให้เลนส์ไม่เป็นทรงกลม A-spherical โดยปัจจุบันเราจะเห็นเลนส์นูนเลนส์เว้าประกอบกันเป็นชุดๆ ในเลนส์หนึ่งๆ ก็อาจจะมี หลายชุด ที่มักจะเรียกกันว่า compound ซึ่งก็คือแก้ความคลาดทรงกลมนี่เอง และเรียกชุดเลนส์พวกนี้ว่า Aspherical lens.
1 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น