twitter

Blog Archive

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (อังกฤษ: Rocket-propelled grenade หรือ RPG) เป็นอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเล็ก ชนิดประทับบ่ายิง ปากลำกล้องกว้าง 40 มม. ใช้ลูกจรวดขนาด 82 มม. (RPG-2) และขนาด 85 มม. (RPG-7) ตามลำดับ เป็นอาวุธเสริมเพื่อใช้ทำลายรถถังหรือยานยนตร์ต่างๆ ที่มั่นกำบัง รวมทั้งสังหารบุคคลเป็นกลุ่มก้อน

คำว่า RPG มาจากคำในภาษารัสเซียว่า РПГ โดยย่อมาจาก "ручной противотанковый гранатомёт" ซึ่งถอดเสียงอ่านได้ว่า Ruchnoy Protivotankoviy Granatomyot (อังกฤษ: hand-held anti-tank grenade launcher)

rpg-7_2

เครื่องยิงจรวด RPG-7

ชนิด เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง

สัญชาติ สหภาพโซเวียต

สมัย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน

การใช้งาน อาวุธประจำหมู่

เป้าหมาย พาหนะ , บุคคล , สิ่งก่อสร้าง

เริ่มใช้ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)

ช่วงผลิต พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน

ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน

สงคราม สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก

ชนิด เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง

ขนาดลำกล้อง 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว)

ความยาวลำกล้อง
650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7)

กระสุน
ลูกจรวดแบบหัวรบ
ดินโพรง
ขนาด 82 มิลลิเมตร (RPG-2)
ขนาด 85 มิลลิเมตร (RPG-7)

ระยะหวังผล
150 เมตร (RPG-2)
500 เมตร (RPG-7)

น้ำหนัก
4.67 กิโลกรัม (RPG-2)
7 กิโลกรัม (RPG-7)

ความยาว
650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7)

panzerfaust

เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี พัฒนาโดยกองทัพสหภาพโซเวียตภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรับปรุงมาจากเครื่องยิงจรวด Panzerfaust ของนาซีเยอรมนี

โดยเครื่องยิงจรวดรุ่นแรกที่เข้าประจำการในกองทัพโซเวียตคือ เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี 2 (RPG-2) เมื่อปีค.ศ. 1949 ก่อนจะมีการนำไปปรับปรุงเป็นเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี 7 ในเวลาต่อมา

RPG-7

จรวด RPG-7 เป็นจรวดที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานในปี ค.ศ. 1962 เป็นต้นมา รุ่นที่ผลิตในจีนเรียกว่า ROCKET TYPE 69 มีลักษณะคล้ายกับเครื่องยิงจรวด RPG-2 แต่ขนาดจรวดโตขึ้นเป็น 85 มม.จากเดิม 82 มม. และตัวเครื่องยิงมีขนาดสั้นกว่า เครื่องเล็งเป็นระบบองค์ทัศนะ สามารถทำการเล็งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน หางนำทิศเปลี่ยนใหม่เป็นแบบใบมีดขนาดใหญ่ และจะกางออกทันทีที่ลูกจรวดถูกยิงพ้นลำกล้อง ตอนท้ายสุดของลูกจรวดจะทำหางนำทิศขนาดเล็กไว้เพื่อให้ลูกจรวดหมุนตัวเล็ก น้อยขณะแหวกอากาศสู่เป้าหมาย ซึ่งทำให้จรวดมีการทรงตัวดีขึ้น นอกจากนั้นลูกจรวดยังมี ROCKET MORTOR เพื่อช่วยขับเคลื่อนโดยเมื่อยิงลูกจรวดพ้นปากลำกล้องออกไปประมาณ 10 เมตร ROCKET MORTOR จะจุดตัว ทำให้มีระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น 500 เมตร ก่อนทำการยิง RPG-7 จะต้องทำการประกอบชุดดินขับจรวดโดยการขันเกลียวยึดเข้ากับตัวจรวดเสียก่อน


RPG-2

จรวด RPG-2 ได้รับการพัฒนาและผลิตขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดย บ. PANSERFAUST ต่อมาจีนได้นำแบบไปผลิตโดยใช้ชื่อว่า ROCKET TYPE 56 เป็นจรวดเจาะเกราะต่อสู้รถถัง (HEAT) ทรงตัวด้วยครีบหาง บรรจุลูกจรวดทางปากลำกล้อง แผ่นครีบหางเป็นแผ่นแหนบม้วนพับติดกับท่อท้ายลูกจรวดด้วยแหวนยึด (RETAINED RING) และจะหลุดออกโดยอัตโนมัติเมื่อบรรจุลูกจรวดเข้ากับเครื่องยิง เครื่องลั่นไกเป็นแบบสปริงดันนกสับ ด้านท้ายท่อยิงเป็นรูปทรงกระบอกตรงหรือเป็นแบบปากแตรในบางรุ่น

RPG-72

สถานภาพของเครื่องยิงจรวดทั้ง 2 แบบ
- RPG-2 ปัจจุบันประเทศจีนเลิกผลิตแล้ว แต่ยังมีใช้งานในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง
- RPG-7 ยังประจำการในกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอ ,อัฟริกา,เอเชียใต้ และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางบางประเทศ

- ประเทศผู้ผลิต - ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอ และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

- ราคา เครื่องยิงจรวด RPG-2 กระบอกละ 24,500 บาท เครื่องยิงจรวด RPG-7 กระบอกละ 46,300 บาท

หัวกระสุนของปืนนี้มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันหลักๆมี 5 ชนิด ดังนี้

PG-7VM HEAT grenade cut-out

ผลิตปี : 1961
ขนาดกระสุน : 85MM
น้ำหนัก : 2.2 Kg.
ระยะหวังผล : 500 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 260MM
ประวัติ
หัวจรวดอันนี้เป็นรุ่นเเรกๆ เเต่อำนาจในการทำลายเเละในการทะลุทะลวงรถหุ้มเกาะจะน้อยกว่ารุ่นที่ 2น่ะ
-------------------------------------------------

PG-7VL HEAT grenade

ผลิตปี : 1977
ขนาดกระสุน : 93MM
น้ำหนัก : 2.6 Kg.
ระยะหวังผล : 500 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 500MM
ประวัติ
เป็นจรวดแบบมาตรฐาน ใช้ได้กับยานพาหนะเกือบทุกประเภท รวมไปถึงพวกป้อมปราการต่างๆ หัวจรวดชนิดนี้จะไม่เพียงแค่ทำความเสียหายด้วยแรงระเบิดเท่านั้น แต่จะแผ่รังสีความร้อนเพื่อสังหารคนที่หลบซ่อนอยู่ภายในยานพาหนะหรือป้อมนั้นๆด้วย
--------------------------------------------------

PG-7VR tandem (dual-warhead) HEAT grenade

ผลิตปี : 1988
ขนาดกระสุน : 64MM/105MM
น้ำหนัก : 4.5 Kg.
ระยะหวังผล : 200 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : ERA + 600-700MM
ประวัติ
หัวจรวดอันนี้จะคล้ายแบบที่ 2 แต่อันนี้จะใช้ยิงเน้นไปทางรถหุ้มเกราะหรือรถถังมากกว่าครับ อำนาจทะลุทะลวงสูงถึง 60 ซม.
--------------------------------------------------

TBG-7V Thermobaric (FAE) grenade

ผลิตปี : 1988
ขนาดกระสุน : 105MM
น้ำหนัก : 4.5 Kg.
ระยะหวังผล : 200 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 0
ประวัติ
อันนี้เป็นหัวจรวดที่ใช้ต่อต้านฝูงชนด้วยรังสีความร้อนสูงถึง 3000 องศาเซลเซียสครับ ระเบิดที่เหนือกว่าระเบิดนาปาล์ม เพราะมันคือระเบิดที่บรรจุเชื้อเพลิงที่สามารถระเบิดลุกเป็นกลุ่มไฟสุดร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำในหลืบถ้ำ หรือแม้แต่ซอกซอยที่ซุ่มของสัตรู โดยมันทำงานอย่างเป็นระบบคือระบบแรกเป็นระเบิดทำลายที่กำบังและระบบที่สองคือเพลิงเผาซ้ำมีความร้อนสูงถึง 3000 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถหลอมละลายสรรพสิ่งให้เป็นจุณไปในพริบตา อย่าว่าคนเลย ปืนที่ใช้ก็โดนหลอมเป็นก้อนทันที
---------------------------------------------------

OG-7V fragmentation antipersonnel grenade (1999)

ผลิตปี : 1999
ขนาดกระสุน : 40MM
น้ำหนัก : 2 Kg.
ระยะหวังผล : 350 เมตร
อำนาจทะลุทะลวงรถหุ้มเกราะ : 0

RPG-Girl

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ชอบมากเลยยยยยยยยยยยยยยยย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แล้วรูปสุดท้ายนี้. เครื่องยิงจรวดรุ่นอะไรหรอครับ
ผลิตที่ไหน แล้วประเทศไหนขายหรอครับ
อานุภาพทำลายล้างน่าจะแรงมากๆ
อิอิ.....

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากได้รูปสุดทาย

แสดงความคิดเห็น


flag counter

free counters